คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ
...
อาการละเมอ อันตรายและไม่ใช่เรื่องที่ควรปล่อยผ่าน เพราะเมื่อขณะกำลังนอนหลับอยู่นั้น ร่างกายทำสิ่งต่างๆ โดยที่ไม่ทันรู้ตัว อาการละเมื่อมีหลายรูปแบบ ทั้งละเมอพูด ละเมอเดิน ละเมอหัวเราะ และอาจรุนแรงถึงขึ้นทำร้ายผู้อื่นได้ อาการละเมอนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้ค่ะ
“ละเมอ” เกิดขึ้นกับร่างกายได้อย่างไร
ละเมอ คือ ภาวะที่ร่างกายหลับสนิท แต่ร่างกายมีปฎิกิริยา ทำสิ่งต่างๆ โดยที่ยังหลับอยู่ และจดจำไม่ได้ หรืออยู่ในภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น
อาการละเมอในวัยเด็ก ช่วงอายุ 4-8 ปี เกิดขึ้นได้เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่
อาการละเมอในวัยผู้ใหญ่ มีส่วนใหญ่อาจมาจากปัญหาการนอนหลับ ที่มาจากการทำงานเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า อ่อนเพลียในช่วงกลางวัน ความเครียด วิตกกังวล การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดหรือยากล่อมประสาท และอีกปัจจัยอาจมาจากอาการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้สูง หรือปัญหาการนอนหลับไม่เพียงพอ
ระยะของการละเมอมักเกิดขึ้นหลังจากคุณหลับไปได้ 1-2 ชั่วโมง และอาจเกิดขึ้นซ้ำตามระยะการหลับ ซึ่งการละเมอมักเกิดขึ้นช่วงหลับลึกหรือหลับฝัน
ช่วงหลับลึก (Non REM Parasomnia) มีลักษณะของช่วงตาไม่กระตุก อาจมีอาการละเมอพูด ละเมอร้อง เหงื่อแตก ใจสั่น ละเมอเดิน
ช่วงหลับฝัน (REM Parasomnia) เป็นช่วงของระยะตากระตุกขณะนอนหลับ คล้ายๆ การนอนฝันร้าย จึงมีอาการละเมอเดิน ละเมอวิ่ง ต่อสู้ ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายต่อชีวิตได้
การละเมอที่ไม่ใช่ทั้งช่วงหลับลึกและหลับฝัน ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัยและในทุกระยะการนอน อาจเกิดจากจิตใต้สำนึกขณะนอนหลับ (เกิดขึ้นได้น้อย)
พฤติกรรมเมื่อเกิดอาการละเมอ
อาการละเมอจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่นาที แต่ในบางรายก็อาจนานมากกว่านั้น ซึ่งส่งผลอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นได้
ลุกขึ้นเดินไปมาภายในบ้าน หรือนั่งลืมตา
ลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ แต่งตัว พูดคุย โดยไม่รู้สึกตัว
หลังละเมอจะกลับมานอนหลับอย่างรวดเร็ว
ตื่นเช้า ไม่สดชื่น มึนงง เพราะการละเมอคือการรบกวนการนอนหลับประเภทหนึ่ง
ละเมอที่มีพฤติกรรมอันตราย เช่น ออกไปนอกบ้าน ขับรถ ตกจากที่สูง มีเพศสัมพันธ์โดยไม่รู้ตัว เป็นต้น
มีอาการละเมอมากกว่า 1-2 ครั้ง/สัปดาห์
ละเมอ สามารถบ่งบอกปัญหาสุขภาพได้
ละเมอ คือ ปัญหาหนึ่งที่ทำให้นอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ เกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอ และสะสมความเหนื่อยล้าของร่างกาย ระยะการหลับของร่างกายถูกขัด กลไกการฟื้นฟูของร่างกายขณะหลับถูกขัดขวาง เช่น การทำงานของฮอร์โมน Serotonin ทำหน้าที่ต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท กล้ามเนื้อ ทำงานได้ไม่เต็มที่
เมื่อร่างกายหลับอย่างไม่มีคุณภาพ จึงมีโอกาสส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง โรคอ้วน มีปัญหาทางอารมณ์ มีปัญหาการรับรู้ตอบสองต่อสังคม ตัดสินใจผิดพลาด และอาจนำไปสู่ภาวะฆ่าตัวตายได้
หยุดละเมอ ด้วยการคุณภาพการนอนที่ดี
การนอนหลับอย่างเพียงพอ จะช่วยลดปัญหาการนอนละเมอลงได้ ซึ่งต้องได้รับการเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา งดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความตึงเครียดก่อนถึงเวลาเข้านอน เช่น ดูซีรีส์สืบสวน เล่นโทรศัพท์มือถือ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ออกกำลังกาย สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการนอน เช่น สร้างห้องนอนไว้สำหรับการนอนเท่านั้น ไม่งีบหลับช่วงหลัง 15.00น.
หากมีพฤติกรรมละเมอบ่อยๆ แนะนำให้มีคนนอนด้วย เพื่อระวังพฤติกรรมละเมอที่อาจก่ออันตรายได้ และภายในห้องไม่มีวัตถุมีคม ล็อกประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย เก็บของให้เป็นระเบียบ
Thrive Wellness Clinic พร้อมให้รับคำปรึกษาเรื่องการนอนหลับยาก นอนละเมอ ตื่นกลางดึก จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
Comments