ในปี 2009 นักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน Elizabeth H. Blackburn, Carol W. Greider และ Jack W. Szostak ได้ร่วมกันรับรางวัลโนเบลทางการแพทย์ ในการค้นพบกระบวนการป้องกันการสูญเสียยีนของโครโมโซมด้วยเทโลเมียร์ (Telomere) และเอนไซม์ Telomerase ถือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่
เมื่อร่างกายมีการแบ่งเซลล์ ส่วนของ Telomere จะหดสั้นลง ซึ่งร่างกายก็มีกระบวนการป้องกันโดยผลิต enzyme Telomerase (เอนไซม์เทโลเมอเรส) ที่จะเข้ามาช่วยสร้าง รักษาและป้องกันไม่ให้ความยาวของ Telomere ลดลง
Telomere จะมีความยาวมากที่สุดเมื่อตอนเราเกิด เมื่ออายุมากขึ้น Telomere จะสั้นลงจนถึงจุดๆหนึ่ง เรียกว่าจุดวิกฤต (Critical point) ทำให้เซลล์นั้นเสื่อมและตายไปในที่สุด เป็นที่มาของความเสื่อม(Aging) ที่เกิดขึ้นในอวัยวะต่างๆ รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บจากความเสื่อม
การหดสั้นของ Telomere สามารถถูกกระตุ้นให้หดสั้นลงจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม ส่วนมากจะเป็นปัจจัยรอบตัวและรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นส่วนใหญ่ เช่น การสูบบุหรี่, ความเครียด, นอนไม่หลับ, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง, ภาวะ Oxidative Stress, ภาวะติดเชื้อและการอักเสบ, โรคตับอักเสบ, โรคภูมิแพ้ตัวเอง, โรคกระดูกพรุน, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, การใช้ยาในทางที่ผิด เป็นต้น
เราสามารถตรวจความยาวเทโลเมียร์ได้หรือไม่?
ก้าวใหม่ในการวัดความยาวของ Telomere (Telomere length) หรือดัชนีวัดความชราภาพของเซลล์ ปัจจุบันนี้เราสามารถตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์ได้เเล้วนะคะ เพียงแค่เจาะเลือดแล้วส่งตรวจ ได้ประโยชน์ในการเข้าใจอายุเซลล์และวางแผนเพื่อความสมดุลในการใช้ชีวิตเพื่ออายุยืนได้ค่ะ
แวะมาตรวจ Telomere length ได้ที่ไธรฟ์คลินิกนะคะ
📌 Thrive Wellness The Crystal Parkเลียบด่วน-รามอินทรา เฟส1 ชั้น 2 ห้อง B208-209 ⏰ เวลาทำการ 10.00-20.00 ☎️ 095-934-9640 Line ID: @thrivewellnessth 📧 [email protected]
Comentarios