top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

World Heart Day วันหัวใจโลก


World Heart Day วันหัวใจโลก

World Heart Day วันหัวใจโลก ตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อตระหนักถึงความสำคัญจของโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งในปี 2023 นี้มาพร้อมกับธีม “Use Heart for Every Heart” ❤️


ในปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือไม่ออกกำลังกาย ความเครียดสะสม ความดันโลหิตสูง เเละการละเลยที่จะดูเเลสุขภาพหัวใจให้เเข็งเเรง ซึ่งการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม


โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ โรคที่กระทบต่อการทำงานของหัวใจส่งผลให้การทำงานของหัวใจเกิดความผิดปกติไป โรคหัวใจโดยทั่วไปจำแนกเป็น3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  • กลุ่มที่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว

  • กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน

  • กลุ่มที่มีการนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เช่น โรคหัวใจเต้นพลิ้ว เป็นต้น


World Heart Day วันหัวใจโลก อาการโรคหัวใจ

อาการของโรคหัวใจ


  • อาการเจ็บหน้าอก เป็นอาการสำคัญของโรคหัวใจ ลักษณะอาการเจ็บหน้าอกที่ชวนสงสัยว่าอาจเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ เจ็บแน่นคล้ายถูกของหนักทับ มักเป็นบริเวณกลางอก ไม่สามารถระบุจุดที่ปวดมากที่สุดชัดเจนได้ อาจมีร้าวไปที่ไหล่ สะบัก ขากรรไกร แขนซ้ายด้านใน หรือแขนทั้งสองข้างได้ อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นมากขึ้นตอนออกแรงหรือมีกิจกรรม และอาการจะทุเลาเมื่อหยุดพัก นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บหน้าอกจากสาเหตุอื่นๆ เช่น หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด จะมีความแตกต่างกันคือมีอาการเจ็บหน้าอกแบบแปล๊บแหลม เสียดแทงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ร้าวทะลุกลางหลัง อาจมีอาการเหนื่อยผิดปกติ และหน้ามืดร่วมด้วย หรืออาการเจ็บจากภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาจเจ็บบริเวณกลางอกค่อนไปทางด้านซ้าย เจ็บจี๊ด ๆ แหลม ๆ เป็นมากขึ้นเวลาที่หายใจเข้าหรือไอ

  • อาการเหนื่อย ผู้ป่วยจะหายใจเร็วและตื้น ทำกิจกรรมได้อย่างจำกัด อาจมีอาการเป็นมากขึ้นตอนนอนราบ ทำให้นอนราบไม่ได้เมื่อนั่งหรือหนุนหมอนสูงแล้วจะดีขึ้น อาจมีอาการขาบวมร่วมด้วย

  • อาการเขียว เกิดจากออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงลดลง อาจมีภาวะเขียวให้เห็นได้ทั้งที่ริมฝีปาก ใบหน้า หรือ ปลายมือปลายเท้า

  • อาการใจสั่น อาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหัวใจของตนเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ อาจเป็นชั่วคราวและหายเองหรือเป็นตลอดเวลา อาจมีอาการหน้ามืด วูบ ร่วมด้วย

  • อาการวูบ หน้ามืด หรือหมดสติ อาจกินเวลาเพียงเสี้ยววินาที หรือเป็นนาทีได้ มีภาวะชักเกร็งได้หลังจากฟื้นรู้ตัว ผู้ป่วยมักจะกลับเป็นปกติ ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงใด ๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล


โรคหัวใจอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์ หรือโรคประจำตัวที่มีอยู่ เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง แต่ในปัจจุบันการเกิดโรคหัวมักมาจากการไม่ดูแลสุขภาพหรือละเลยการตรวจร่างกาย ดังนั้นควรดูแลสุขภาพเริ่มต้นจากการออกกำลังกาย เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่วมไปถึงการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจ


อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลหลอดเลือดหรือช่วยให้เลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้มากยิ่งขึ้น คือ คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) จะช่วยล้างพิษหลอดเลือดผ่านทางน้ำเกลือที่มีสารประกอบทางเคมีที่ให้เป็นประเภทกรดอะมิโนที่เรียกว่า EDTA ผสมกับวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่ง EDTA ทำหน้าที่หลักในการเข้าไปจับสารโลหะหนักในกระแสเลือด และค่อยๆดึงโลหะหนักที่สะสมในเนื้อเยื่อออกมา เช่น สารหนู (Arsenic), ปรอท (Mercury), อะลูมิเนียม (Aluminum), ตะกั่ว (Lead), แคดเมียม (Cadmium), โครเมียม (Chromium), ซีเลเนียม (Selenium), ทองแดง (Copper) หรือแม้แต่แคลเซียม (Calcium) ส่วนเกิน

ซึ่งประโยชน์ของการทำคีเลชั่นบำบัด Chelation Therapy คือ ขจัดสารพิษตกค้างในร่างกายและระบบหลอดเลือด, ลดอัตราเสี่ยงของหลอดเลือดแข็งอุดตันและตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจขาดเลือด, ป้องกันโรคความเสื่อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบหมุนเวียนเลือดที่ไม่ดี, ช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เป็นต้น


นัดหมายเพื่อ Consult ปัญหาสุขภาพหัว กับคุณหมอ Anti-Aging ดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ก่อนที่โรคหัวใจมาเคาะเรียกคุณ




bottom of page