top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

World Alzheimer's วันอัลไซเมอร์โลก


World Alzheimer's วันอัลไซเมอร์โลก

World Alzheimer's วันอัลไซเมอร์โลก ตรงกับวันที่ 21 กันยายมของทุกปี จัดตั้งโดยองค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ ADI (Alzheimer’s Disease International) โดยวันอัลไซเมอร์โลก ถูกตั้งชื่อตามจิตแพทย์ชาวเยอรมัน นามว่า อาลอยซ์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบโรคอัลไซเมอร์เป็นคนแรก เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจกับโรคนี้มากยิ่งขึ้นจึงมีการรณรงค์และจัดตั้งวันอัลไซเมอร์โลกขึ้นมา


โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร


โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งเป็นโรคที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ มักจะมีอาการสูญเสียความทรงจำเริ่มจากน้อยๆและค่อยๆมากขึ้นตามลำดับ โดยโรคนี้จะมีการเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ อีกทั้งโรคอัลไซเมอร์ยังเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) อีกด้วย


เกิดจากอะไรได้บ้าง

  • อายุที่เพิ่มขึ้น ความชราตามวัยนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาของโรค โดยโอกาสเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หลังจากที่อายุ 65 ปีขึ้นไป

  • ยีนทางพันธุกรรม พันธุกรรมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยแม้จะมีผู้ป่วยในครอบครัว แต่หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวหลายคนมีประวัติหรือประสบกับโรค ควรต้องรับการปรึกษากับแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้น

  • มีประวัติที่ได้รับความกระทบกระเทือนสมอง เช่น ล้ม หัวกระแทก หรือเกิดอุบัติเหตุรุนแรงทำให้มีความประทบกระเทือนสมอง หรือกระโหลกศีรษะ

  • โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ถึงแม้โรคเหล่านี้จะไม่ใช่สาเหตุหลักของการเป็นโรคอัลไซเมอร์แต่ก็เป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน


สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์


“Dementia is a degenerative brain condition that affects over 50 million people internationally and which robs a person of their memory,competency, comprehension and behavioural awareness, usually slowly, over years, it is a sad condition to live with or to witness in a loved one, there are over 100 forms of dementia, the most common being Alzheimer’s Disease at 50-60% of all dementia cases.”



ภาวะสมองเสื่อม ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก โดยผู้คนเหมือนถูกปล้นความทรงจำ ความสามารถ ความนึกคิด ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล โดยส่วนมากจะค่อยๆเผยอาการอย่างช้าๆ ต่อเนื่อง ยาวนานมากกว่า 1 ปี ภาวะสมองเสื่อมมีมากกว่า 100 รูปแบบ โดย 50-60% พี่พบคือ โรคอัลไซเมอร์ที่ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด



World Alzheimer's วันอัลไซเมอร์โลก

เราจะสังเกตตัวเองหรือคนในครอบครัวเราอย่างไร


อาการของโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากอัลไซเมอร์นั้น จะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาการแรกเริ่มที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งอาการทางพฤติกรรมนี่เองที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะรายที่มีอาการก้าวร้าว


อาการทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์อาจแบ่งคร่าวๆ ได้เป็นสามระยะ ได้แก่

  • ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆเรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า

  • ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลง เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น

  • ระยะสุดท้าย ถือว่าเป็นระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่ายๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ เป็นต้น รวมทั้งภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวะการติดเชื้อที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้


ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลนครธน


การดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคอัลไซเมอร์


โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากรู้จักดูแลตนเองก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ภาวะความจำสั้น ภาวะสมองเสื่อม ช่วยให้สมองมีความจำที่ดีขึ้นได้ ควรดูแลตนเองดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษทั้งหลายที่อยู่ในแอลกอฮอล์และบุหรี่จะเข้าไปทำลายและก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง

  • ออกกำลังสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้เซลล์สมองใหม่ๆอยู่รอด และทำงานเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น หากเซลล์สมองสูญเสียหรือเซลล์สมองไม่เชื่อมต่อกันจะส่งผลต่อความจำนั่นเอง

  • หากิจกรรมบริหารหรือฝึกสมองให้ได้คิดอยู่ตลอด ก็ช่วยให้สมองแข็งแรง ยืดประสิทธิภาพของสมองให้ใช้งานได้อย่างดีและใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกจนเกินไป เพราะการนอนดึกจะยิ่งส่งผลต่อสมองโดยตรงทำให้สมองอ่อนล้าได้ง่าย


การดูแลด้วยวิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารน้ำ

IV DRIP Brain Active การดริปวิตามินเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ระบบประสาท รวมถึงสมอง เพราะ วิตามินแร่ธาตุ สามารถดูดซึมนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสูตรที่มีสารน้ำที่ช่วยฟื้นฟู สมองและระบบประสาท เช่น Cerebrolysin หรือ Cerebrum ซึ่งใช้ในการดูแลเคสอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังช่วยป้องกัน Stoke หรือ สมองเสื่อมอีกด้วย นอกจากนี้ IV DRIP Brain Active ยังมี วิตามินอีกหลากหลายชนิด เช่น Vitamin C, Vitamin B รวม ที่ช่วยเสริมสร้างพลังงานและฟื้นฟูระบบประสาทอีกด้วย


IV DRIP Brain Active ราคา 3,800 บาท/ครั้ง

**ราคาแพคเกจ สอบถามที่ไลน์ @thrivewellnessth หรือ กดที่ลิงค์ 🧩 https://lin.ee/i0InL89


bottom of page