top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...




ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30



30 ยังแจ๋ว วัยที่สาวๆ กำลังได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ผ่านประสบการณ์ชีวิตและกำลังเป็นวัยที่สวยสะพรั่ง แต่ถึงอย่างนั้น สาวๆ ที่กำลังเป็น Working woman ก็อาจลืมใส่ใจเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย เครียดกับงาน ที่ทำให้สุขภาพอาจสวนทางกัน



ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30 มีอะไรบ้าง รู้ทัน ป้องกันก่อน เช็กร่างกาย เพราะเราแก่ลงปีละ 1%



ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงวัย 30 เกิดขึ้นได้อย่างไร


แม้ผู้หญิงวัย 30 ยุคนี้จะยังดูสวย เก่ง เทรนด์ดี้ เป็นวัยผู้ใหญ่ที่ยังแซ่บ แต่ทว่าร่างกายคุณกลับผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญต่อผิวพรรณเนียนนุ่ม ผิวมีคอลลาเจน ไร้ตีนกา รักษาสภาวะทางอารมณ์ให้คงที่ สร้างประจำเดือน เสริมสร้างกระดูก เบิร์นไขมัน เบิร์นคอเลสเตอรอล เริ่มลดระดับและผลิตน้อยลงเรื่อยๆ หรือที่เรียกว่าเริ่มเข้าสู่ภาวะ ‘วัยทอง’ นั่นเองค่ะ

ฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญนี้ คือ ฮอร์โมน Estrogen และฮอร์โมน Progesterone ฮอร์โมน FSH และ ฮอร์โมน LH ซึ่งทำให้เกิดปัญหายอดฮิตเหล่านี้


1. อ้วนง่าย เพราะอัตราการเผาผลาญเริ่มน้อยลง


ทานเท่าเดิม ทานน้อยลง แต่ทำไมอ้วนง่ายขึ้น สาเหตุเพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทำให้ร่างกายเบิร์นไขมัน น้ำตาล ได้ยากขึ้น


2. อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ (Mood Swing)


วีน เหวี่ยงง่าย ขี้น้อยใจ กระวนกระวาย ส่งผลต่อเนื่องไปถึงคุณภาพการนอนหลับ ทำให้นอนได้ยากขึ้น และระบบความจำเริ่มมีปัญหา


3. เจ็บป่วยง่ายขึ้น ร่างกายเสื่อมลง


เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง, โรคไมเกรน, โรคเบาหวาน, โรคไขมันในเลือดสูง, โรคมะเร็ง, โรคมะเร็งปากมดลูก, โรค PCOS, โรคซีสต์ในรังไข่ โรคกระดูกพรุน สุขภาพฟันมีปัญหา สายตาเปลี่ยนแปลง จึงควรหมั่นเช็กร่างกายเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที


4. ความสนใจทางเพศอาจลดลง


เพราะฮอร์โมนที่สำคัญเริ่มลดลง ในบางคน อาจส่งผลให้เบื่อเซ็กส์ รังไข่ไม่แข็งแรง มีโอกาสตั้งครรภ์ยากขึ้น


5. ผมเริ่มหลุดร่วงและบางลง


เมื่อคุณเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 30 ปี วงจรชีวิตเส้นผมจะเริ่มสั้นลง จึงเกิดผมร่วงถี่ขึ้น และไม่สามารถสร้างผมเส้นใหม่ได้ทัน ความหนาแน่นของผมจึงน้อยลง นอกจากนี้ความเครียด มลภาวะ การรับประทานอาหาร ก็เป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้ผมร่วงง่าย เพราะฮอร์โมนแปรปรวน เช่น ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายขับไขมันผ่านทางผิวหนังมากขึ้น หนังศีรษะจึงมัน รากผมอ่อนแอ หรือ ฮอร์โมน Estrogen น้อยลง ทำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลง ผมเริ่มบาง มีความแห้ง ชี้ฟู อ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายยิ่งขึ้น


6. ฮอร์โมนแห่งความสาว ลดน้อยลง


ไม่ใช่แค่ฮอร์โมนเพศที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้หญิง แต่ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต อย่าง Growth Hormone ก็ผลิตน้อยลง และเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายคุณเสื่อมลง ซึ่งเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป จะเหลือเพียง 40% เมื่อเทียบกับอายุช่วงวัยรุ่น

โกรทฮอร์โมน สำคัญต่อระบบเผาผลาญ ลดความเครียด เสริมสร้างสมาธิ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เสริมความยืดหยุ่นของผิว ให้ผิวเรียบเนียน ชุ่มชื้น ต้านภาวะกระดูกพรุน เสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดการเสื่อมถอยของสายตา



วิธีรับมือปัญหาสุขภาพ เมื่อคุณอายุ 30


แม้ระดับของฮอร์โมนจะเริ่มลดลง เปลี่ยนแปลงให้กลไกในร่างกายของคุณเริ่มเสื่อมแต่ก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น อีกปัจจัยยังขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของคุณที่ไม่เป็นตัวเร่ง หรือกระตุ้นให้คุณป่วยและแก่เร็ว ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ


  • ตรวจเช็กร่างกาย เป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจดูสมดุลฮอร์โมน ระดับน้ำตาลในเลือด สุขภาพของเพศหญิง


สามารถรับคำปรึกษาและตรวจสุขภาพได้ที่ Thrive Wellness Clinic link > Optimum Balance Package



  • พักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมง/วัน นอนช่วงเวลา 4 ทุ่มจะเป็นช่วงที่ดีที่สุด (ควรงดน้ำตาลช่วงก่อนนอน) เพราะการนอนหลับที่ดีจะทำให้ฮอร์โมนมีประสิทธิภาพตรงตามเวลาในการทำงานของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมร่างกาย และงดอาการหิวดึก

  • ปรับเปลี่ยนเรื่องรับประทานอาหาร ลดการทานอาหารตามสั่ง จานด่วน อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง เพราะอุดมไปด้วยไขมันร้าย โลหะหนัก ทำให้ร่างกายสะสมสารพิษ จุลินทรีย์ที่ไม่ดี

  • หลีกเลี่ยงสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะเป็นการไปเร่งให้ร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น เกิดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะสารอาหารจากวิตามินและแร่ธาตุ คือแหล่งพลังงานสำคัญต่อกลไกในร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร ต่อมไทรอยด์ ระบบประสาทและสทอง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การทำงานของประจำเดือน

  • รับประทานอาหารที่มีไขมันดี ที่อุดมไปด้วยไขมัน HDL จาก ปลาทะเล แซลมอน อะโวคาโด น้ำมันมะกอก ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันร้าย LDL และคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความดันอ้วนง่าย มีพุง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

  • ลดขนม ชา กาแฟ ที่เป็นแหล่งสะสมของน้ำตาล ไขมันสูง แถมยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ส่งผลต่อน้ำหนักและกลไกในร่างกายทำงานได้ยาก อักเสบง่าย

  • ออกกำลังกาย 3-4 วัน/สัปดาห์ อย่างน้อยวันละ 30-60 นาที โดยเลือกวิธีคาร์ดิโอ เดินเร็วต่อเนื่อง ช่วยให้สัดส่วนในร่างกายเผาผลาญได้ดี กระชับสัดส่วน ลดความระดับความเครียดในร่างกาย ช่วยปรับการผลิตฮอร์โมน และยังทำให้หัวใจแข็งแรง

  • หลีกเลี่ยงตนเองจากภาวะเครียดสะสม ทำงานหนักต่อเนื่อง หรือทำกิจกรรมที่ส่งผลต่ออารมณ์ในช่วงเวลาก่อนนอน เช่น การดูซีรีส์สืบสวน เพราะส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนเครียด (Cortisol) การทำงานของความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบแคบลง และหัวใจทำงานหนักขึ้น


เตรียมพร้อมเมื่อร่างกายคุณเข้าสู่วัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ยิ่งมี Lifestyle พักผ่อนน้อย ทำงานหนัก เครียดสะสม ปาร์ตี้บ่อย ยิ่งเร่งให้ฮอร์โมนเพศหญิงถูกใช้งานจนหมด เกิดภาวะวัยทองก่อนวัยได้ ดูแลร่างกาย จิตใจ และสมดุลฮอร์โมน ด้วยการตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุ 30 เป็นประจำทุกปี เพื่อการวางแผนและรับมือภาวะวัยทองได้อย่างเหมาะสม


bottom of page