top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

คลายสงสัย อาการลำไส้ผิดปกติเป็นอย่างไร? ด้วย 3 Step




คลายสงสัย อาการลำไส้ผิดปกติเป็นอย่างไร? ด้วย 3 Step




Step 1

แบบทดสอบลำไส้ผิดปกติ สังเกตตัวเองก่อนสาย

รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา สาย บ่าย ดึก คือเวลาประจำ ทานเมนูเดิมๆ ซ้ำๆ อาหาร Fast food อาหารแปรรูปต่างๆ พฤติกรรมการกินเหล่านี้ที่เสี่ยงให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ ประเมินความเสี่ยงก่อนสายผ่านแบบทดสอบลำไส้




Click! แบบทดสอบลำไส้




Step 2

สร้างความเข้าใจกับลำไส้รั่ว


‘ลำไส้’ มีความสำคัญรองลงมาจากสมอง ลองคิดดูว่าหากลำไส้คุณบกพร่อง ดูดซึมอาหารไม่เต็มที่ ร่างกายดึงวิตามิน แร่ธาตุไม่เพียงพอ คงป่วยง่ายแน่ๆ ไม่แค่นั้นแต่ยังขับพิษ ของเสียไปไม่ได้อีก

อาการท้องเสีย ปวดบีบท้องที่คิดว่าไม่เป็นไร กินยานิดหน่อยก็หาย บางครั้งอาจไม่เป็นอย่างที่คิด คุณอาจได้รับเชื้อไวรัส หรือหนักสุดถึงขั้นลำไส้อักเสบ แถมในช่วงโควิดระบาดแบบนี้ด้วยแล้วอาการยิ่งทับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นโรคไหนกันแน่หากไม่ได้ตรวจ



 

คุณมีอาการนี้อยู่หรือไม่?

  • ปวดบีบท้อง

  • ถ่ายเหลว เป็นน้ำ เป็นมูกหรือมูกเลือด

  • บางคนอาจถ่ายวันละ 10-20 ครั้ง จนถึงขั้นตื่นกลางดึกขึ้นมาเพื่อถ่าย

  • มีไข้ต่ำ หรือ ไข้สูง

  • รู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรง

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • ดื่มน้ำได้น้อย (อาจรุนแรงถึงขั้นภาวะขาดน้ำ)

  • น้ำหนักลด

  • บางคนมีอาการข้ออักเสบ ตาอักเสบ






Step 3

ลำไส้รั่ว ลำไส้อักเสบ รักษาง่าย ป้องกันได้

โรคลำไส้อักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่ทางการแพทย์บ่งบอกแน่ชัดที่สุด คือ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือทำงานผิดปกติ เพราะระบบภูมิคุ้มกันถือว่าสำคัญต่อการทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย ทั้งจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ดังนั้นเมื่อภูมิคุ้มกันมีปัญหา ลำไส้กำจัดไม่ได้ เกิดการติดเชื้อและอักเสบที่ลำไส้จึงตามมา



ไม่อยากเป็นลำไส้อักเสบ ป้องกันอย่างไรดี

  • รักษาสุขอนามัย ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

  • อาหารที่รับประทานต้องสะอาด ลดความเสี่ยงที่จะเกิดแบคทีเรียในอาหาร เช่น น้ำดื่ม น้ำแข็ง ภายในห้องครัว เครื่องปรุง

  • อาหารควรปรุงสุกทุกครั้ง

  • ควรขับถ่ายในห้องน้ำ เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคระบาดทางอุจจาระ

  • ลำไส้อักเสบ อาจไม่มีแนวทางป้องกันได้ 100% แต่เพื่อลดความเสี่ยงเราจึงควรใส่ใจเรื่องความสะอาดทั้งภายนอกและภายในร่างกายเสมอ



ขั้นตอนการรักษา หากเป็นลำไส้อักเสบ

  • รักษาตามอาการเบื้องต้น จะเป็นการป้องกันภาวะขาดน้ำด้วยการให้กินผงละลายเกลือแร่ หรือหากขาดน้ำมาก (ซึ่งอาการนี้คุณไม่สามารถประเมินเองได้) ต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว โดยแพทย์จะทำการรักษาโดยการให้ยาแก้ปวด หรือยาแก้คลื่นไส้อาเจียนหากมีอาการร่วม

  • รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะ หากเป็นลำไส้อักเสบที่รุนแรง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อเมื่อมีการอักเสบ เป็นต้น





สำหรับมนุษย์ปวดท้องหลายๆ คนที่มักเจอกับเหตุการณ์นี้

คงเข้าใจในความรู้สึกถึงอาการปวดท้องได้อย่างดีเลยใช่ไหมล่ะคะ

แถมลำไส้อักเสบยังเป็นอาการที่ไม่สามารถหายปวดได้เพียงชั่วข้ามคืน

ดังนั้นการพึงรักษาความสะอาดอยู่เสมอทั้งของกิน ของใช้ ประเมินความเสี่ยง

ที่อาจจะเกิดขึ้นของลำไส้อักเสบจึงเป็นเรื่องจำเป็น


 



bottom of page