ในปัจจุบันมีไม่น้อยสำหรับคุณแม่ที่มีลูกคนแรกมาแล้วอย่างง่ายดาย แต่พออยากมีคนที่สองกลับมียาก พยายามเท่าไหร่น้องก็ไม่มาสักที จนบางคนก็กลายเป็นผู้มีบุตรยากไปโดยที่ไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
สำหรับคุณแม่ที่อยากลูกคนที่สองแต่กลับติดยาก หรือท้องสองยากเราจะเรียกว่า Secondary Infertility เป็นภาวะมีบุตรยากที่เกิดขึ้นหลังจากเคยผ่านการมีลูกมาแล้ว เนื่องจากร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากการมีลูกครั้งแรก ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ที่พบได้บ่อย คือ
อายุที่มากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป จะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของรังไข่จะลดประสิทธิภาพลงได้อย่างชัดเจน ผลิตเซลล์ไข่น้อย ไข่ไม่มีคุณภาพ การกระตุ้นไข่จะให้ผลลัพธ์ที่ลดลงมากกว่าคนอายุน้อยๆ เพราะรังไข่จะตอบสนองได้น้อยลง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตร ภาวะรกเกาะต่ำ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงต่อทารกอาจมีความผิดปกติทางโครโมโซม
รังไข่เสื่อม เมื่อรังไข่เสื่อมรังไข่จะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง และฮอร์โมนกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ไข่ทำงานผิดปกติ ส่งผลโดยตรงต่อการมีลูกจะทำให้การมีลูกในครั้งนี้เป็นไปได้ยากกว่าครั้งแรก ในบางคนอาจต้องพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยเพราะไม่สามารถมีลูกโดยวิธีธรรมชาติได้เลย
ปัญหาของท่อนำไข่ ความผิดปกติหลายๆอย่างอาจเกิดขึ้นหลังจากมีลูกคนแรก รวมไปถึงความผิดปกติของท่อนำไข่เกิดการตีบตันจนไข่ไม่สามารถผ่านท่อนำไข่เพื่อไปปฏิสนธิกับอสุจิได้ แต่อสุจิจะเล็ดลอดผ่านเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้สำเร็จก็ไม่สามารถนำตัวอ่อนย้ายมาฝั่งตัวที่โพรงมดลูกได้อยู่ ปัญหาท่อนำไข่ตีบตันยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกอีกด้วย
วิธีการบำรุงและดูแลตัวเองก่อนมีลูกคนที่สอง
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อลดปัญหาการขาดสารอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เลือด เนื้อสัตว์ เน้นทานพวกธัญพืชไม่ขัดสี ผักผลไม้ และ โปรตีนจากปลา ส่งผลต่อดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิง
พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง จะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งการพักผ่อนจะช่วยลดความตึงเครียดช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดีขึ้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยออกกำลังกายแบบเบาๆ เช่น โยคะ เอโรบิค เป็นต้น ไม่แนะนำให้ออกแบบหักโหมจนเกินไป เพราะถ้าออกกำลังกายหนักหรือหักโหมจนเกินไปอาจส่งผลต่อการตกไข่ และประจำเดือนมาผิดปกติได้
ปรึกษาแพทย์ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีลูกอีกครั้งควรตรวจสุขภาพอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อตรวจดูโรคประจำตัว ตรวจหาความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้อย่างปลอดภัยที่สุด
หรือให้ ไธร์ฟ คลินิก ช่วยวางแผนเตรียมความพร้อมและดูแลสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ด้วยโปรแกรมการตรวจสุขภาพ Family Planning Check Up ที่ช่วยเช็กฮอร์โมน AMH เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ตรวจฮอร์โมน เพื่อช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ให้กับคุณ Family Planning Check Up
♀️Package ตรวจคุณผู้หญิง 15 รายการ / 11,800.-
♂️Package ตรวจคุณผู้ชาย 19 รายการ / 6,780.-
Comments