top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

อยากมีน้องต้องบํารุง การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ สำหรับผู้มีบุตรยาก


การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ สำหรับผู้มีบุตรยาก

สำคัญผู้ที่กำลังวางแผนในการมีลูก สิ่งสำคัญก็คือ การเตรียมความพร้อม สุขภาพจะทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้ง่ายขึ้น สำหรับหลายๆคนที่ยังไม่ทราบว่าการเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้ ไธร์ฟ คลินิก มีเคล็ดลับดีๆ ทั้งการเสริม และการลด มาฝากว่าที่คุณแม่ ดังนี้


การเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นก่อนตั้งครรภ์


การเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นก่อนตั้งครรภ์จะช่วยส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่ ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่, การปฏิสนธิสำเร็จง่ายขึ้น, การฝังตัวของตัวอ่อน, การเจริญเติบโตของตัวอ่อน และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์


Folic Acid - กรดโฟลิกเป็นวิตามินที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ สามารถรับประทานกรดโฟลิกระหว่างเตรียมร่างกาย 1-3 เดือน เพื่อช่วยป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ โฟลิกยังช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจาง ป้องกันโรค NCDs และโรคอัลไซเมอร์ และช่วยลดความเสี่ยงจากความพิการของทารกแต่กำเนิดอีกด้วย


Coenzyme Q10 - โคเอ็นไซม์ คิว 10 จะช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ไข่ปฏิสนธิได้สมบูรณ์ ช่วยดความเสื่อมของเซลล์ไข่ ช่วยให้เซลล์ไข่สามารถแบ่งเซลล์ได้เป็นปกติ กลายเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ฝังตัวเป็นครรภ์ที่แข็งแรงต่อไป


Omega 3 - โอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มการสร้าง nitrix oxide ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะสืบพันธุ์ได้ดีขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่ โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 35 ขึ้นไปที่เซลล์ไข่เริ่มเสื่อมคุณภาพ การทำงานของรังไข่ลดลง


Iron - ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุสำคัญสำหรับเพศหญิง บำรุงเม็ดเลือดแดง ช่วยลดภาวะโลหิตจาง ช่วยช่วยในการสร้าง DNA และ RNA ที่ช่วยในการเติบโตของเซลล์ไข่ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับมดลูก อีกทั้งยังช่วยผลิตไข่ที่มีคุณภาพด้วย


สังกะสี (Zinc) ทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้รังไข่สามารถผลิตไข่คุณภาพดีมากยิ่งขึ้น เมื่อรับประทานในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนวันตกไข่ Zinc จะช่วยในกระบวนการสร้าง cell และ DNA synthesis มีส่วนสำคัญในช่วงที่ไข่เริ่มแบ่งตัว ช่วยป้องกันการแท้งบุตร


ลดปัจจัยเสี่ยง Lifestyle ที่ทำให้ตั้งท้องยาก


  • การนอนดึก หรือคุณภาพการนอนหลับไม่ดี การไม่นอน และการนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้างฮอร์โมนหลายชนิด ได้แก่

    • Luteinizing Hormone (LH) ฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ หรือไข่ไม่ตก

    • Growth Hormone เป็นฮอร์โมนที่ใช้สำหรับร่างกายในการซ่อมแซม จำเป็นแม้ในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งจะหลั่งออกมาในช่วงเวลา 22:00 มากที่สุด ดังนั้น การนอนดึกเกินไป ร่างกายจะขาดการสร้างฮอร์โมนชนิดนี้

    • Cortisol Hormone คอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแห่งความเครียด ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อการตั้งครรภ์ เพราะคอร์ติซอล ส่งผลต่ออารมณ์ และร่างกาย (Body Stress)


  • ความเครียด เป็นตัวแปรที่ทำให้มีลูกได้ยากขึ้น เพราะฮอร์โมน Cortisol Hormone ฮอร์โมนความเครียดจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ สังเกตได้จาก คุณผู้หญิงที่เครียดมากๆ ประจำเดือนจะคลาดเคลื่อน หรืออาจจะหายไปในช่วงเวลาหนึ่ง สะท้อนว่าความเครียดมีผลให้ตกไข่ช้า หรือไข่ไม่ตก ทำให้ไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ยิ่งทำให้การฝังตัวอ่อนที่มดลูกนั่นเป็นไปได้ยากมากขึ้น


  • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นร่างกายให้ขับวิตามินต่างๆออกมาพร้อมกับการปัสสาวะ โดยเฉพาะวิตามินกลุ่มที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามินซี วิตามินบี อีกทั้งยังลดการดูดซึมของวิตามินในลำไส้เล็ก และลดการขับน้ำดีที่เป็นตัวพาไขมันเข้าสู่ร่างกาย วิตามินในส่วนที่ละลายได้ในไขมันก็จะไม่ถูกดูดซึม อีกทั้งยังทำลายตับ การสะสมของวิตามินต่างๆในตับมีจำนวนต่ำลง เมื่อกินวิตามินบำรุงเข้าไปวิตามินจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่ายกายขาดวิตามินนั่นเอง


  • การสูบบุหรี่ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีควันบุหรี่ สารพิษในบุหรี่จะลดคุณภาพและประสิทธิภาพของมดลูก ซึ่งเป็นที่ฝังของตัวอ่อน ใและส่วนประกอบของควันบุหรี่จะเข้าไปฝังตัวกับเซลล์ในโครงสร้างรังไข่ ส่งผลให้รังไข่หยุดการตกไข่นั่นเอง อีกทั้งยังทำให้ผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) เร็วกว่าปกติถึง 2 ปี อีกด้วย


  • ดื่มกาแฟ มากกว่า 3 แก้วต่อวัน อย่างที่ทราบว่าในกาแฟจะมีสารคาเฟอีน และคาเฟอีนนี้เองหากได้รับมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ทางสถิติจะเป็นการลดโอกาสการตั้งครรภ์กว่า 25% เพราะเสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตรมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม เมื่อร่างกายรับคาเฟอีนเข้าไป จะถูกย่อยเป็นสาร Paraxanthine ซึ่งสามารถถูกดูดซึมผ่านรกและเยื่อหุ้มสมองของเด็กได้ จนส่งผลให้ทารกในครรภ์เกิดการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์และทำให้ทารกหยุดพัฒนาตัวอ่อน และแท้งในที่สุด


  • ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ ทำให้เสี่ยงต่อการมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อันนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มทำให้มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วน ไขมันในเลือดสูง และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด ซึ่งส่งผลต่อการมีบุตรยาก


ทั้งนี้การเสริมวิตามินต่างๆและลดปัจจัยเสี่ยง Lifestyle ที่ทำให้ตั้งท้องยากแล้ว คุณผู้หญิงควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเตรียมพร้อมเป็นว่าที่คุณแม่

หากใครยังไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นดูแลตัวเองจากตรงไหนให้ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ช่วยดูแลสุขภาพและเตรียมพร้อมก่อนเป็นคุณแม่ ด้วยการตรวจฮอร์โมน AMH Hormone เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ บ่งบอกความสามาถในการทำงานของรังไข่ หรือบอกจำนวนไข่ที่สามารถผลิตได้ ซึ่งอยู่ในแพคเกจ

Family Planning Check Up

♀️Package ตรวจคุณผู้หญิง 15 รายการ / 11,800.-

♂️Package ตรวจคุณผู้ชาย 19 รายการ / 6,780.-


อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ต้องการบำรุงก่อนตั้งครรภ์อย่าง Vitamin IV Drip สูตร Fertility Support เป็นวิตามินที่ช่วยฟื้นฟูทั้งร่างกายคุณผู้หญิง ฟื้นฟูรังไข่และมดลูก ช่วยเสริมวิตามินที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการเตรียมมีบุตร หรือกำลังเตรียมทำ ICSI ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติ


IV Drip Fertility ราคา 9,000 บาท/ครั้ง


🩺รับคำปรึกษาจากแพทย์ด้ายเวชศาสตร์ชะลอวัยและป้องกัน เพื่อการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพอย่างเหมาะสมเฉพาะบุคคล



1 Comment


Kaiser OTC benefits provide members with discounts on over-the-counter medications, vitamins, and health essentials, promoting better health management and cost-effective wellness solutions.


Obituaries near me help you find recent death notices, providing information about funeral services, memorials, and tributes for loved ones in your area.


is traveluro legit? Many users have had mixed experiences with the platform, so it's important to read reviews and verify deals before booking.

Like
bottom of page