top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

ชวนรู้จักอาการ Premenstrual syndrome (PMS)



คลิกเลือกอ่าเนื้อหาที่สนใจ

...



เข้าใจอาการ PMS อาการก่อนเป็นประจำเดือน



ร้านโปรดปิด แฟนไม่ตามใจ อาการนอยด์ วีนเหวี่ยงง่ายทั้งที่ไม่ใช่นิสัยเราแบบนี้ เกิดขึ้นเพราะอาการ PMS สภาวะอารมณ์แปรปรวน ช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ที่เหล่าผู้หญิงทุกคนล้วนพบเจอ และผ่านไปได้ยาก




ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนรู้จัก อาการ PMS คืออะไร พร้อมวิธีรับมืออาการปวดท้อง วีน เหวี่ยง



PMS คืออะไร?


PMS : Premenstrual syndrome คือ ลักษณะของอาการช่วงก่อนมีประจำเดือนราวๆ 1-2 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อหลังประจำเดือนมาได้ 4-7 วัน ซึ่งสาเหตุของอาการนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน Progesterone และ ฮอร์โมน Estrogen และสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรม จิตใจ โดยไม่เกี่ยวกับโรคประจำตัว หรือสุขภาพจิต



เช็ก! คุณมีอาการ PMS อยู่หรือไม่


อาการ PMS สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


1. อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม

  • มีอารมณ์ หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย เหนื่อยง่าย กว่าปกติ

  • นอนไม่หลับ

  • อยู่ในภาวะตึงเครียด รู้สึกโดดเดี่ยว

  • ไม่มีสมาธิ กระสับกระส่าย ลืมง่าย

  • มีอารมณ์เศร้า วิตกกังวล ร้องไห้ง่ายกับเรื่องเล็กๆ

  • หิวบ่อย หรือเบื่ออาหาร

  • ความมั่นใจลดลง

  • ความสนใจทางเพศเปลี่ยนไป


2. อาการทางด้านร่างกาย

  • เจ็บเต้านม

  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ

  • ปวดศีรษะ

  • ปวดท้อง

  • ท้องผูก ท้องอืด หรือท้องเสีย

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

  • ปวดหลัง

  • ตัวบวม

  • สิวขึ้น

  • คลื่นไส้ อาเจียน



PMS เกิดจากอะไร ชวนดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ก่อนมีประจำเดือน


  • ฮอร์โมน Estrogen จะผลิตต่ำลง ในขณะที่ฮอร์โมน Progesterone จะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผิวคุณอ่อนแอ เป็นสิวง่าย อารมณ์ไม่คงที่

  • สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงระหว่างการมีประจำเดือน กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดไมเกรน

  • การทำงานของสารสื่อประสาท Serotonin ขึ้นลงไม่คงที่ ทำให้มีผลต่ออารมณ์ และเมื่อเซโรโทนินลดต่ำ จึงเกิดภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ


รับมืออย่างไร เมื่อเผชิญ PMS


  • รู้ทันตัวเอง และหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงที่คุณเริ่มใกล้เป็นประจำเดือน โดยอาจจะบันทึกช่วงเวลาของการเป็นประจำเดือน และคาดการณ์ล่วงหน้า บอกคนใกล้ตัวเพื่อรับมือกับช่วงเวลานี้

  • พักผ่อนอย่างเพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูขณะนอนหลับ ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนความเครียด ลดการกระตุ้นให้เกิดสิว และสร้างสมดุลฮอร์โมน

  • ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 2.7 ลิตร/วัน ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายรักษาสมดุล ขับเหงื่อหรือสิ่งสกปรกออกจากรูขุมขนได้ดี ช่วยในเรื่องการขับถ่าย ขจัดสารพิษ ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา ตกค้างในลำไส้ ที่เป็นตัวการของสิว และยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

  • แนะนำรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินบี 6 ธาตุเหล็ก โอเมก้า 3 เช่น ส้ม กล้วยหอม ผักใบเขียว อะโวคาโด้ แซลมอน ปลา ไก่ เป็นต้น จะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เกร็งในช่องท้อง วีนเหวี่ยง นอนไม่หลับ เศร้า กระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล โซเดียม แป้ง โปรตีน ไขมัน เพราะจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอนุมูลอิสระ เร่งการเกิดสิวต่อผิวมากขึ้น และทำให้ร่างกายอักเสบ

  • งดคาเฟอีน ชา กาแฟ ที่ส่งผลให้ร่างกายเกิดการบีบตัวมากขึ้นทั้งในมดลูก และศีรษะ

  • ทานดาร์กช็อคโกแลต นอกจากจะมีแมกนีเซียมแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดอาการเหวี่ยง วีน และบรรเทาอาการปวดท้อง

  • ไม่ใส่เสื้อรัดตัว เพราะยิ่งทำให้รู้สึกไม่สบายตัว

  • ประคบร้อนที่หน้าท้อง ด้วยกระเป๋าน้ำร้อน ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการปวด ช่วยให้ผ่อนคลายได้

  • หากมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง ถึงขั้นทำงานไม่ได้ ปวดท้องบิดหนัก หมดแรง อารมณ์รุนแรงไม่สามารถควบคุมได้แนะนำตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคได้


ป้องกัน PMS ด้วยการตรวจสุขภาพ รู้ทันฮอร์โมนแปรปรวน


การเข้ารับการตรวจฮอร์โมนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้คุณได้ทราบถึงต้นตอของสภาวะช่วงเป็นประจำเดือน หรืออาการ PMS ได้ เมื่อเกิดอาการที่ผิดปกติ ปวดท้องรุนแรง ประจำเดือนเลื่อนต่างจากเดิม ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้เช่นกัน ทั้งยังไม่เสียเวลา ไม่เจ็บตัวและรู้ผลเร็ว


Thrive Hormone Check up แพ็กเกจการตรวจเพื่อหาความสมดุลฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปโดยที่คุณไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ สุขภาพผิว คุณภาพการนอน รวมทั้งประจำเดือนที่มาไม่ตรง เพราะการมีฮอร์โมนที่สมดุลไม่ใช่แค่ปรับด้านอารมณ์เท่านั้นแต่สำคัญมากพอๆ กับเรื่องสมองที่ส่งผลไปยังการทำงานในอวัยวะต่างๆ

ทำให้คุณได้ทราบถึง

  • ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

  • ระดับฮอร์โมนควบคุมการตกไข่

  • ระดับโปรตีนขนส่งฮอร์โมนเพศ

  • และอีกกว่า 10 รายการที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย


การเตรียมตัวก่อนตรวจฮอร์โมน

  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

  • ตรวจช่วงวันที่ 18-25 นับจากวันที่มีรอบเดือน

  • รอผลตรวจ 5-7 วัน

  • นัดหมายเข้าฟังผล พร้อมรับคำปรึกษาจากคุณหมอ 1 ชั่วโมง











Comments


bottom of page