top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

จะเกิดอะไรขึ้น? หากเส้นเลือดตีบ หรืออุดตัน



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...



จักหลอดเลือด! ทำงานอย่างไร พร้อมปัญหาสุขภาพที่เกิดจากหลอดเลือดอุดตัน


หลอดเลือดที่ทำหน้าที่ นำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนทั่วร่างกาย จะเกิดอะไรขึ้น หากเลือดไหลเวียนไม่สะดวก ขนส่งสารอาหาร นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ นำของเสียออกจากร่างกายไม่ได้ เพราะหลอดเลือดตีบตัน




ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนหาสาเหตุการตีบตันของหลอดเลือด ที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไขมันอุดตัน



รู้จัก หลอดเลือด ทำงานอย่างไร?


หลอดเลือด (Blood Vessel) คือ ท่อที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้สะดวก ซึ่งอาศัยแรงจากการสูบฉีดของหัวใจ หรือการบีบตัวของผนังหลอดเลือด ที่ทำให้เกิดแรงดันเลือดไหลเวียนไปสู่อวัยวะต่างๆ และไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้ง หลอดเลือดยังมีหน้าที่ช่วยขนส่งสารอาหาร นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ นำของเสียและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์เนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการทำงานหลักที่ร่างกายบกพร่องไม่ได้



รู้จักหลอดเลือดในร่างกาย



ร่างกายมีหลอดเลือดอะไรบ้าง?


หลอดเลือดแดง (Artery)


คือ หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย มีลักษณะของผนังหลอดเลือดหนา แข็งแรง ไม่มีลิ้นกั้นภายใน แต่มีความยืดหยุ่น เพื่อทนต่อแรงดันเลือดที่ถูกสูบฉีดออกไป เลือดที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดงจะมีปริมาณแก๊สออกซิเจนอยู่สูง (ยกเว้นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจาหัวใจไปฟอกที่ปอด Pulmonary artery) มีสีแดงสด หลอดเลือดแดง ประกอบไปด้วย 3 ขนาด คือ

1. เอออร์ตา (Aorta) เป็นหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย โค้งไปทางด้านหลัง ผ่านช่องอกและช่องท้อง

2. อาร์เทอรี (Artery) หลอดเลือดแดงขนาดกลาง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำเลือดออกจากหัวใจไปฟอกที่ปอด เป็นส่วนที่มีความแข็งแรง ผนังกล้ามเนื้อหนา เพื่อทนต่อแรงดันเลือด

3. อาร์เทอริโอล (Arteriole) หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก หรือ หลอดเลือดแดงฝอย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 มิลลิเมตร มีหน้าที่บังคับการไหลเวียนของเลือด จึงสามารถขยายและหดตัวได้



หลอดเลือดดำ (Vein)


คือ หลอดเลือดที่นำเลือดใช้งานแล้วของอวัยวะส่วนต่างๆ เข้าสู่หัวใจ (ห้องบนขวา) โดยจะเป็นเลือดเสีย และเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ มีลักษณะของผนังหลอดเลือดบางกว่าหลอดเลือดแดง มีความดันต่ำ ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นน้อย มีลิ้นกั้นภายในเป็นระยะเพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ มีปริมาณออกซิเจนต่ำ (ยกเว้นหลอดเลือดที่นำเลือดผ่านการฟอกจากปอดแล้วเข้าสู่หัวใจ Pulmonary vein) จึงเรียกว่าหลอดเลือดดำ ประกอบไปด้วย 2 ขนาด คือ

  1. เวนาคาวา (Vena cava) เป็นหลอดเลือดดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

  2. เวนูล (Venule) เป้นหลอดเลือดที่มีขนาดรองลงมา หรือเรียดว่า หลอดเลือดดำฝอย


หลอดเลือดฝอย (Capillary)


คือ หลอดเลือดที่คอยเชื่อมต่อระหว่าง หลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ เส้นผ่านศูนย์กลางเล็ดเพียง 8 ไมโครเมตร มีลักษณะฝอย ขนาดเล็กละเอียด คล้ายร่างแห อยู่ตามผิวหนัง กล้ามเนื้อ สมอง และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย มีผนังหลอดเลือดบางมาก สามารถแลกเปลี่ยนแก๊ส สารอาหาร ของเสียต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ในร่างกายได้



ทำไมหลอดเลือดถึงตีบ อุดตัน?


"หลอดเลือด" ซึ่งเหมือนสายยางที่มีเลือดไหลเวียนผ่านทุกวัน ซึ่งในเลือดมีทั้งสารอาหารที่อาจมีสารพิษปะปนมาด้วย อาจเกิดจากการรับประทานอาหารแช่แข็ง ก๋วยเตี๋ยว ชาบู ปิ้งย่าง การใช้ยาย้อมผม ยาทาเล็บต่าง ๆ ที่อุดมไปด้วยสารโลหะหนัก เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและไหลผ่านหลอดเลือดอาจทำให้เกิดเป็นตะกอนติดค้างอยู่บริเวณผนังหลอดเลือด

อีกด้านหนึ่ง เมื่ออายุมากขึ้น ภาวะหลอดเลือดเสื่อมก็สามารถเกิดขึ้นได้ บวกกับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ดี มีไขมัน เกลือ น้ำตาลสูง ส่งผลให้เกิดระดับคอเลสเตอรอลสูง ไขมัน LDL (ไขมันร้าย) สูง ไขมันเหล่านี้จะขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และเกาะตัวสะสมตามผนังหลอดเลือดเรื่อยๆ จนเกิดภาวะหลอดเลือดตีบ หรืออุดตัน รวมไปถึงการสูบบุหรี่จัด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ไม่ออกกำลังกาย ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์บ่อย ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดสะสม ขยับตัวน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่บกพร่อง นำไปสู่โรคประจำตัวอื่นๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคอ้วน



หมดสติ หน้ามืดบ่อย เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ขาบวม อาจเพราะหลอดเลือดอุดตัน แนะนำดูแลสุขภาพ พร้อมทำ Chelation Therapy


วิธีลดความเสี่ยงหลอดเลือดตีบ อุดตัน


  • หลีกเลี่ยงตนเองจากภาวะเครียดสะสม ทำงานหนัก ดูซีรีส์สืบสวนก่อนนอน เพราะส่งผลต่อความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบแคบลง และยังส่งผลต่อระบบประสาทที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจมากขึ้น

  • รับประทานอาหารที่มีไขมันดี จาก ปลาทะเล แซลมอน อะโวคาโด น้ำมันมะกอก ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต ที่จะช่วยลดระดับไขมัน LDL และคอเลสเตอรอล ที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้คุณอ้วนง่าย มีพุง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เพิ่มระดับไขมัน HDL ที่ดีต่อสุขภาพแทน

  • งดขนม อาหารฟาสต์ฟู้ด ชา กาแฟ ที่เป็นแหล่งสะสมของน้ำตาล ไขมันสูง แถมยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ส่งผลต่อน้ำหนักและกลไกในร่างกายทำงานได้ยาก

  • งดสูบบุหรี่ ที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระต่อร่างกาย สารนิโคตินทำให้หลอดเลือดหดตัว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ทำลายเยื่อบุชั้นใน เกิดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเพิ่มปริมาณไขมัน LDL คอเลสเตอรอล ในร่างกาย และส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ

  • ดื่มน้ำเปล่า อย่างน้อย 1.5-3 ลิตร/วัน เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดภาวะขาดน้ำ เสริมกระบวนการทำงานในร่างกาย พร้อมทั้งขับสารพิษ

  • ไม่นอนดึก นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เข้านอนไม่ควรเกินช่วงเวลา 22.00น. ช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายปรับสมดุล ซ่อมแซมร่างกาย และงดอาการหิวดึก

  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 วัน/สัปดาห์ วันละอย่างน้อย 30-60 นาที โดยเลือกวิธีคาร์ดิโอ เดินเร็วต่อเนื่อง ช่วยให้สัดส่วนในร่างกายเผาผลาญได้ดี กระชับสัดส่วน และลดความเครียดในร่างกายที่ส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน ช่วยให้หัวใจแข็งแรง

  • IV Drip Chelation การบำบัดหลอดเลือด เพื่อลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน การสะสมของสารโลหะหนักตามผนังหลอดเลือดที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดไปได้เอง ต้องอาศัยสาร EDTA (Ethylene Diamine Tetra-acetic Acid) เพื่อทําการดักจับโมเลกุลของโลหะหนักสะสม ที่ฝังแน่นบริเวณผนังหลอดเลือดและขจัดออกทางปัสสาวะ


ยิ่งอายุมากขึ้น หลอดเลือดยิ่งเสื่อม เสี่ยงหลอดเลือดตีบ อุดตัน


Thrive Wellness Clinic พร้อมให้บริการตรวจระดับไขมัน พร้อมระดับฮอร์โมนที่สำคัญต่อการทำงานพื้นฐานในร่างกาย ในเฉพาะช่วงอายุ 30-40 ปี ที่ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง อาจเกิดโรคประจำตัวได้ง่าย ผ่าน Optimum Balance Package

พร้อมวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยา ช่วยเสริมสร้างร่างกายจากวิตามินและแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อกลไกการทำงานผ่าน IV Drip Chelation



bottom of page