top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

ท้องผูก เกิดจากอะไร ทำอย่างไรถึงกลับมาถ่ายปกติ?


คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ



ท้องผูก ถ่ายยากเกิดจากอะไร  ปัญหาที่ไม่ได้เกิดแค่ในลำไส้  แต่ลามไปถึง ปอด ลมหายใจ ผิวหนัง


อึดอัดท้องอยู่บ่อยๆ หลังทานอาหารไม่สบายท้องอีกต่อไป เพราะอาการท้องผูกที่แก้ไม่หาย จนร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกไปได้อย่างปกติ เกิดเอฟเฟกต์ต่อไปถึงปัญหา ปอด ลมหายใจ ผิวหนัง สิวเริ่มเกิดเพราะสมดุลของร่างกายรวน ปัญหาท้องผูกที่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ต้องเริ่มแก้ไขอย่างไร โดยไม่ต้องพึ่งยาระบายแถมกลับมาขับถ่ายอย่างปกติ



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก เข้าใจถึงปัญหาท้องผูกที่ผู้คนเป็นมากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาขับถ่ายเรื้อรัง ที่สามารถรักษาได้โดย รับการตรวจ Urine Organic Profile Test


Checklist! อาการท้องผูก


ท้องผูกเกิดจากอะไร?


ท้องผูก (Constipation) เกิดได้จากหลายปัจจัย จึงทำให้อาการท้องผูกพบได้บ่อยในคนไทย และอาจพบผู้ที่มีอาการท้องผูกเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลทำให้การขับถ่ายไม่ตรงเวลา รีบเร่งในการออกไปทำงานตอนเช้า จนละเลยการขับถ่าย



5 สาเหตุของอาการท้องผูก


5 สาเหตุของอาการท้องผูก

  1. อาการท้องผูกจากภาวะของโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน, ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ต่ำ, ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง, ภาวะโพแทสเซียมต่ำ, โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะบาดเจ็บของสมองหรือไขสันหลัง, โรคพาร์กินสัน, เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก, ผู้ป่วยนอนติดเตียง

  2. การรับประทานยารักษา ส่งผลทำให้เกิดท้องผูกบ่อย ได้แก่ ยารักษาซึมเศร้า, ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ แก้อาการปวดท้อง, ยาแก้ปวด Buscopan, ยารักษาโรคพาร์กินสัน, ยาแก้แพ้บางชนิด เช่น Chlorpheniramine (CPM), ยากันอาการชัก เช่น Dilantin, ยาลดความดันโลหิต, ยาบำรุงเลือด

  3. ปัญหาการอุดกั้นของลำไส้รวมถึงทางเดินอาหาร ส่งผลให้เกิดมะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนักอาจเกิดผิดปกติ

  4. การควบคุมการทำงานของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ หรือในภาวะลำไส้แปรปรวน

  5. การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เช่น ของมัน ของทอด ขนมหวาน ช็อตโกแลต ชา กาแฟ จะส่งผลต่อการย่อยอาหารและการขับถ่ายที่น้ำในร่างกายไม่เพียงพอ


อาการท้องผูกส่งผลเสียอย่างไร


อาการท้องผูกส่งผลเสียอย่างไร


เมื่อท้องผูกเรื้อรัง ร่างกายเสี่ยงต่อเชื้อโรคเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อไม่เกิดการขับถ่าย ลำไส้ใหญ่จะดูดน้ำจากอุจจาระเข้าสู่กระบวนการในร่างกายอีกครั้ง รวมไปถึงของเสียที่จะถูกขับออกไปด้วยเช่นกัน และหากเชื้อโรคถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว จะผ่านไปยังปอด ปอดก็จะฟอกเลือดและขับเชื้อโรคต่างๆ ออกมาทางลมหายใจและผิวหนัง กรบวนการเหล่านี้ทำให้ร่างกายของคุณเกิด

  • อ่อนเพลีย

  • ท้องอืด

  • ผิวหนังอักเสบ

  • สิวขึ้น

  • ส่งผลต่ออารมณ์ หงุดหงิดง่าย

  • น้ำหนักขึ้น ลดน้ำหนักยาก

  • เกิดกลิ่นปาก กลิ่นตัว


ท้องผูกกับการเป็นสิว


ท้องผูกกับการเป็นสิว

  • เมื่อท้องผูก ทำให้ร่างกายเครียดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Cortisol เพิ่มมากขึ้น และยังส่งผลต่อการเพิ่มระดับของฮอร์โมน Androgens, ฮอร์โมน Insulin ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้เกิดสิวอักเสบ สิวหัวช้าง

  • เมื่อเกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการดูดซึมสารตกค้างจากอุจจาระ และขับของเสียออกมาผ่านทางผิวหนังอีกครั้ง เมื่อต่อมไขมันที่ถูกขับออกมาทางรูขุมขนเป็นประจำอยู่แล้ว สัมผัสกับสารพิษยิ่งส่งผลให้การเกิดสิวเป็นง่ายและรุนแรงมากยิ่งขึ้น

  • ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นจากอาการท้องผูก ทำให้ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงขึ้น ส่งผลต่อให้กระตุ้นการผลิตน้ำมันบนผิวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้สิวเกิดตามมาได้


หยุดวงจรท้องผูกเรื้อรัง ด้วยการตรวจสมดุลลำไส้  สร้างความสมดุลให้ขับถ่ายง่าย พร้อมผิวดีแข็งแรง


Urine Organic Profile Test ราคา 15,000.-



❇️ ตรวจ Urine Organic Profile Test เหมาะกับ

  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการเผาผลาญ

  • ผู้ที่ร่างกายไม่สามารถขับสารพิษได้

  • กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง หรือ Adrenal fatigue

  • ผู้ที่น้ำหนักขึ้น ลง แบบไม่มีสาเหตุ

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และการขับถ่ายเป็นประจำ

  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ป่วยง่าย หรือ ป่วยบ่อย

  • ผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ รวมถึงอาการทางจิต ระบบประสาทต่างๆ


❇️ ประโยชน์ของ Urine Organic Profile Test

  • กระบวนการเผาผลาญไขมัน (Fatty Acid Metabolism) : บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบการเผาผลาญไขมันและกรดไขมัน ที่ส่งผลให้ควบคุมน้ำหนักได้ยาก

  • กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต : ตรวจการทำงานของวงจรคีโตซิส หรือ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาเป็นแหล่งพลังงานหลักได้

  • การเสียสมดุลของลำไส้ : การตรวจหาแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา ในลำไส้ที่มากเกินกว่าปกติ จนทำให้ลำไส้เสียสมดุล

  • การทำงานของ Vitamin B : การตรวจดูการทำงานของวิตามินบีนั้นปกติ และทำงานเผาผลาญอย่างมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ในระดับเซลล์

  • ตรวจสมดุลการสร้างสื่อประสาท (Neuro Transmitter) : ตรวจการสร้างฮอร์โมนจำพวกโดปามีน เซโรโทนีน ที่เป็นฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นใน ที่มีส่วนสำคัญในการการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และระบบภูมิคุ้มกัน

  • เตาผลิตพลังงานเสื่อมสภาพ (Mitochondria Dysfunction) : ตรวจไมโตคอนเดรียในร่างกาย ที่เปรียบเหมือนเตาผลิตพลังงานของเซลล์

  • ภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) : บ่งบอกภาวะการไม่สมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระ หากร่างกายบริโภคไขมันมากเกินไปจนเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายมากขึ้น ภาวะการไม่สมดุลนี้จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย

  • ความสามารถในการขจัดสารพิษ (Detoxification) : ตรวจดูประสิทธิภาพของตับและสำไส้ในการกำจัดสารพิษและดูดซึมอาหาร










Comentarios


bottom of page