
เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อเรางดอาหาร
Fasting และ Feeding ช่วงไหนถึงได้ผล
ใครที่กำลังวางแพลนทำ IF อยู่ ไธรฟ์ขอชวนคุณมาเรียนรู้เรื่องราววิธี Fasting ที่ดี และกลไกของร่างกายในช่วงงดอาหารกันค่ะ
Fasting คืออะไร
Fasting หรือที่เรียกว่า การงดอาหาร คือหัวใจสำคัญของการลดน้ำหนักแบบ IF ที่เรารู้จักกัน ซึ่งการงดอาหารไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีเสมอไปนะคะ เพราะการจำกัดเวลาในการอดอาหาร และทานอาหารตามช่วงเวลาที่เหมาะสม กลับได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คิด
ชวนเข้าใจ Fasting บางทีคุณอาจเคยทำมาแล้วแบบไม่รู้ตัว
การอดอาหารแบบ Fasting เกิดขึ้นแบบเดียวกับการฉันอาหารของพระภิกษุสงฆ์วันละ 2 มื้อ หรือในช่วงเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิมนั่นเองค่ะ และความจริงอีกอย่างนั่นก็คือ ร่างกายของมนุษย์เราเพิ่งเริ่มทานอาหารครบ 3 มื้อมาเมื่อราวๆ 1,000 ปีหลังนี้เอง
ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์เริ่มมีการทำงานอย่างเป็นระบบเวลามากขึ้น เมื่อเทียบกับยุคที่มนุษย์อาศัยอยู่ในถ้ำ และทานอาหารเมื่อรู้สึกหิวเท่านั้น ดังนั้นเราไม่เคยมีการกำหนดว่าต้องทานเมื่อไหร่มาก่อน? การรับประทานอาหารจึงมีขึ้นเพื่อให้เราปรับตัวง่ายต่อการใช้ชีวิตมากกว่าเหตุผลทางสุขภาพที่มาซัพพอร์ตในภายหลัง ดังนั้นเมื่อเรางดอาหารเป็นบางช่วงเวลาจึงไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดต่อร่างกายเสมอไปค่ะ ด้วยความมหัศจรรย์ของกลไกร่างกาย ชาวโรมันยังเชื่ออีกว่าการรับประทานอาหารมื้อเดียวส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่า
เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อเรางดอาหาร (Fasting)
การงดอาหารอย่างเป็นเวลาถูกใช้อย่างกว้างขวางในหมู่ดารา นักแสดง เซเลป นางแบบ เพราะด้วยอาชีพที่ต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ หรือการทำงานที่น้ำหนักมีผลต่อคาแรคเตอร์ที่ได้รับ เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนักเหล่านี้จึงถูกเผยแพร่สู่ผู้ชมเกิดเป็นการทำ IF อย่างที่ฮิตกันในยุคนี้เลยก็ว่าได้
ด้วยวิธีการที่มีมานานกว่า 10 ปีนี้ และเมื่อปี 2018 นิตยสาร Time ระบุว่าการกินปกติหลายๆ วันแล้วสลับด้วยการกินน้อยช่วยปรับให้การเผาผลาญของร่างกายไปในทางที่ดีขึ้นได้
ในระหว่างที่เรา Fasting ร่างกายเราเกิดกระบวนการดังนี้
เพิ่ม Growth Hormone (โกรทฮอร์โมน) ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในสมาคมสืบสวนด้านการรักษาอเมริกัน ระบุว่าการทำ Fasting ช่วยกระตุ้นการทำงานของโกรทฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเผาผลาญไขมันดีขึ้นและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
เสริมกระบวนการ Autophagy (ออโต้ฟาจี้) ช่วยกระตุ้น Autophagy ที่เป็นการกินตัวเองของเซลล์ โดยปกติแล้วเซลลฺ์ในร่างกายของเราจะมีการเกิดใหม่และตายลงในทุกวันอยู่แล้วค่ะ ซึ่ง Fasting นี้จะไปกระตุ้นกระบวนการ Autophagy ให้นำเซลล์ที่ตายนำมารีไซเคิล ซ่อมแซมใช้ใหม่ให้ตัวเองอีกครั้ง ยืดระยะเวลาการมีชีวิตของเซลล์ให้นานขึ้น
ช่วยลดอาการบวมและอักเสบ Fasting ส่งผลไปถึงระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวกับการอักเสบและบวมในหลายโรค เช่น โรคเบาหวานประเภท 2, โรคหลอดเลือด, และอัลไซเมอร์
ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่ามีส่วนช่วยให้อายุเรายืนยาวขึ้นได้ค่ะ ซึ่งมาจากการที่จำนวนแคลอรีที่รับเข้าร่างกายมีจำนวนน้อยลง คล้ายๆ กับการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์เลยล่ะค่ะ
สมองปลอดโปร่ง ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ ส่งผลต่อสมองส่วนหน้าช่วยเสริมประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จากผลวิจัยปี 2016 และช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ส่งผลให้ลดความเสี่ยงรคอัลไซเมอร์ไปด้วย
ป้องกันและชะลอการเกิดมะเร็ง Fasting ช่วยจำแนกเซลล์ดีและไม่ดีออกจากกันซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากค่ะ และยังปรับสมดุลอินซูลินในร่างกายลดความเสี่ยงไม่ให้เซลล์พัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็ง และลดภาวะถูกออกซิไดซ์เกินสมดุลที่เป็นสาเหตุด้วยเหมือนกัน
ควร Fasting และ Feeding ช่วงไหนถึงได้ผล
กำลังสงสัยกันอยู่ใช่มั้ยคะ พูดอย่างง่ายๆ ก็คือ หากคุณเริ่มมื้อแรกตอน 11.00 น. มื้อถัดไปไม่ควรเกิน 19.00 น. ค่ะ และไม่ควรทานอาหารที่มีแคลอรีจนกว่าจะถึงเวลา 11.00 น. ของวันถัดไป ซึ่งเป็นวิธีการทำ IF แบบ 8 : 16 นั่นเองค่ะ (ในระหว่างวันสามารถทานกาแฟ ชา น้ำเปล่า ที่ไม่มีน้ำตาลได้นะคะ)
ทั้งนี้หากทำ Fasting ก็ไม่ควรทานเกินแคลอรีที่ได้รับต่อวันนะคะ และช่วง Feeding ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะร่างกายต้องใช้พลังงาน รวมทั้งแร่ธาตุและวิตามินต่อวัน
อยากวางแผนทำ IF ให้ดี ถูกหลัก ร่างกายไม่พัง ที่ไหนดี
ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก มีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านการชะลอวัยและด้านฮอร์โมนทางร่างกายโดยเฉพาะ เพื่อวางแผนทางสุขภาพที่ดี หาสาเหตุที่ควรแก้ไขในร่างกายอย่างตรงจุด ฮอร์โมนตัวไหนมีปัญหา หรืออาหารชนิดใดที่ร่างกายเกิดแพ้ ขาดสารอาหารจนเกินไปหรือไม่? เป็นเรื่องสำคัญ ก็จะทำให้การทำ IF มีประสิทธิภาพ และระบบเผาผลาญในร่างกายไม่รวน ส่งผลดีต่อเนื่องให้คุณมีชีวิตประจำที่ดียิ่งขึ้น ไม่เสียเวลาและร่างกายไปอย่างเปล่าประโยชน์ค่ะ
