top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

แฟนไม่ได้หมดรัก แต่สารสื่อประสาทไม่พร้อมสร้างความสุข?



แฟนไม่ได้หมดรัก แต่สารสื่อประสาทไม่พร้อมสร้างความสุข?



ความรักคือวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง


ตกหลุมรักแฟนในช่วงจีบกันใหม่ๆ ทำอะไรก็ดูน่าตื่นเต้น น่าค้นหา อยากอยู่ใกล้ เพราะ Testosterone และ Estrogen ที่เป็นฮอร์โมนเพศเป็นตัวขับเคลื่อนให้คุณและคนรักดึงดูดเข้าหากัน ซึ่งเป็นความปราถนาในการสืบพันธุ์จากสมองส่วน Hypothalamus ที่ไปกระตุ้นการผลิตของฮอร์โมน FSH และ LH เพื่อสร้างฮอร์โมนเพศขึ้น

แต่เมื่อคุณเริ่มสานสัมพันธ์ เป็นหน้าที่ของตัวช่วยอย่าง สารเคมีในสมองสั่งการให้ร่างกายเกิดความสุข ความพึงพอใจและแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัว ที่เกิดจากสารสื่อประสาทกลุ่ม ‘โมโนเอมีน’ ได้แก่ Dopamine, Epinehrine,Serotonin แต่หากขาดสารสื่อประสาทเหล่านี้ ก็ส่งผลตรงข้าม ได้แก่อาการกังวล หวาดกลัว เครียด และตื่นตระหนกได้เช่นกัน



ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนหาคำตอบ ความรัก ความสุข ความเชื่อใจ อิทธิพลของสารสื่อประสาทที่สร้างขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์



สารสื่อประสาทคืออะไร?


สารสื่อประสาทก็เหมือนกับกลไกการทำงานของอวัยวะ แต่ควบคุมทางด้านสภาวะอารมณ์ สุขภาพจิตใจเป็นหลัก ซึ่งมีผลอย่างมากในทุกความสัมพันธ์


Dopamine สารแห่ง ความสุข ความหวัง


Dopamine หรือ โดปามีน เป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญทางด้านอารมณ์ การสร้างความสุข ความพึงพอใจ ความรัก ความคิดถึง แรงบันดาลใจ ถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน และสมองส่วน Hypothalamus และถูกกักเก็บไว้ที่สมองและไขสันหลัง

  • เมื่อโดปามีนถูกหลั่งจากสมองสูงขึ้น จะส่งผลมีความรู้สึกเป็นสุข รู้สึกรัก พึงพอใจ ทำให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิจดจ่อ และไวต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว แต่หากมากเกินไปจะส่งผลต่อโรคจิตเภท ย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น

  • หากระดับโดปามีนต่ำลง หรือหยุดทำงาน จะส่งผลให้เกิดอารมณ์หดหู่ เหงา และซึมเศร้า



Dopamine สารแห่ง ความสุข ความหวัง


Serotonin สารแห่งความสุขและการนอนหลับ


Serotonin หรือ เซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมองและระบบประสาท ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก การรับรู้ พัฒนาความคิด ความสุข ใช้ในการต้านความเครียด เซโรโทนินจะถูกสร้างขึ้นจากสมองและลำไส้ ดังนั้น เมื่อเกิดความผิดปกติภายในลำไส้ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา จึงแสดงอาการทางอารมณ์ ความรู้สึกได้ด้วย และเซโรโทนิน ยังสัมพันธ์กับการนอนหลับอีกด้วย

หากระดับเซโรโทนินต่ำ จึงส่งผลในทางตรงกันข้าม คือ นำไปสู่อาการเศร้า กังวลใจ ไมเกรน นอนหลับยาก ก้าวร้าว นำไปสู่โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และอาจรุนแรงถึงแนวโน้มการฆ่าตัวตายได้



Serotonin สารแห่งความสุขและการนอนหลับ



Oxytocin สารแห่งการคลั่งรัก ความผูกพัน

Oxytocin หรือ ออกซิโทซิน สื่อสารประสาทที่เกิดขึ้นจากต่อมใต้สมองไฮโพทาลามัส เกี่ยวข้องกับความรักในแง่ความผูกพัน ที่เกิดจากกระทำใดการกระทำนึง ส่งผลต่อสมองให้เกิดการหลั่งและจดจำ ซึ่งเกิดขึ้นจาก SEX การถึงจุดสุดยอด การจูบ การคลอดลูก การให้นมบุตร และยังส่งผลกลับขั้วที่สนับสนุนความรู้สึกไม่ไว้ใจ ไม่เชื่อใจ เหม็นหน้า เกลียด ได้เช่นกัน



Oxytocin สารแห่งการคลั่งรัก ความผูกพัน



เคล็ดลับเสริมสร้างสารสื่อประสาทให้ทำงานอย่างเหมาะสม ที่จะช่วยสรัางความสัมพันธ์อันดี ไม่ว่าความสัมพันธ์รูปแบบใด


  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 วัน/สัปดาห์ วันละอย่างน้อย 30-60 นาที โดยเลือกวิธีคาร์ดิโอ เดินเร็วต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน Testosterone, Dopamine, Serotonin ลดระดับความเครียดในร่างกาย กระปรี้กระเปร่า และยังเสริมการเผาผลาญกระชับสัดส่วน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

  • การรับแสงแดดช่วงเช้าก่อน 10.00 น. และหลัง 15.00 น. เพื่อให้ร่างกายสังเคราะห์ Vitamin D กระตุ้นภูมิต้านทาน และช่วยหลั่งฮอร์โมน Serotonin ทางอ้อม

  • เลือกรับประทานดาร์กช็อกโกแลต 50-100 กรัม ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและช่วยปรับให้อารมณ์ดีขึ้น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่อุดมไปด้วยทริปโตแฟน, Vitamin B, Magnesium พบได้ใน นม เนื้อสัตว์ ปลา อัลมอนด์ กล้วยหอม เป็นต้น เพื่อลดการบกพร่องของสารสื่อประสาทจากการขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น

  • เพิ่มการสัมผัสคนที่เรารัก (Skinship) เช่นการโอบกอด ลูบหัว แสดงความรักกับแฟน เพื่อน ครอบครัว บ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย สร้างความสุขให้กับตัวคุณและคนที่คุณรัก

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากโรคสารสื่อประสาทบกพร่อง สามารถรับคำปรึกษาพร้อมการรักษาแพทย์ทางเลือกด้าน Anti-Aging ได้ที่ ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก เน้นการฟื้นฟู เสริมสร้างกระบวนการทางร่างกายด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ไม่ใช้ยา เนื่องจากยาจะเป็นการทำงานที่เข้าไปบล็อกกลไกของร่างกาย ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายเซราโทนินให้ลดลง การรักษาลักษณะนี้จึงเป็นการเข้าไปช่วยการทำงานของระบบประสาท ลำไส้ ระดับฮอร์โมน พร้อมหาสาเหตุผ่านการตรวจเชิงลึกในระดับ Cell ที่ได้รับจาก IV Drip Vitamin หรือ Amino Acid เช่น Kidmin เหมาะสำหรับผู้ที่ดูดซึมสารอาหารไม่ได้ ร่างกายอ่อนแอผิดปกติ











bottom of page