top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ความต้องการทางเพศลดลง หงุดหงิดง่าย เกิดจากเทสโทสเตอโรนลดลงจริงไหม?


เทสโทสเตอโรน ฮอร์โมยเพศชาย

เมื่อผู้ชายเข้าสู่วัย 40 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ สาเหตุหนึ่งเกิดมาจากฮอร์โมนเพศชาย หรือ Testosterone Hoomone ลดลง หากปล่อยไปและไม่บำรุงจะส่งผลต่อสุขภาพอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องเรี่ยวแรงในร่างกาย เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ หงุดหงิด โมโห เบื่อหน่าย อารมณ์ทางเพศลดลง น้องชายไม่แข็งตัว อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ ซึ่งอาจจะไม่ได้เห็นเด่นชัดเท่าผู้หญิงที่สังเกตได้จากประจำเดือนขาดหายไป จึงจำเป็นต้องตรวจเพื่อหาสาเหตุและหาแนวทางในการแก้ไข




เทสโทสเตอโรน ฮอร์โมยเพศชาย

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศชาย Testosterone กำลังดิ่งลง

  • ความต้องการทางเพศลดลง

  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว

  • มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง

  • เหนื่อย เพลีย ไม่กระฉับกระเฉง

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

  • มีภาวะนอนไม่หลับ

  • มีอาการร้อนวูบวาบ

  • มีภาวะซึมเศร้า

  • สำหรับบางคนขนตามร่างกายหลุดร่วง


เทสโทสเตอโรน ฮอร์โมยเพศชาย

วิธีเสริมและบำรุงฮอร์โมนเพศชาย

1. รับประทานอาหารที่มีความหลากหลายและมีประโยชน์ อาหารที่ทานในแต่ละวันส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ทั้งสิ้น เพื่อให้การทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นควรเลือกทานโปรตีน ทานคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างอาหารที่ช่วยเสริมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน คือ

  • หอยนางรม เป็นอาหารกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศได้ดี อุดมไปด้วยโปรตีน โอเมก้า 3 (Omega 3), วิตามินอี (Vitamin E), วิตามินดี (Vitamin D), วิตามินบี12 (Vitamin B12), ธาตุเหล็ก (Iron), ซีลีเนียม (Selenium) และช่วยเพิ่มการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอีกด้วย

  • กระเทียม จะเข้าไปช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิตของบริเวณอวัยวะเพศชายช่วยให้การทำงานและการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น

  • ไข่ไก่ มีสารอาหาร โดยเฉพาะ ซิงค์ (Zinc), วิตามินบี (Vitamin B) ที่เข้าไปช่วยซ่อมแซมร่างกายและยังช่วยให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่มีปริมาณน้อยเพิ่มสูงขึ้นมาได้

  • กล้วย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามินเอ (Vitamin A), วิตามินบี1(Vitamin B1), วิตามินซี C (Vitamin C), เกลือแร่ (Dietary mineral), โพแทสเซียม (Potassium), กรดอะมิโน (Amino acid), ธาตุเหล็ก (Iron), น้ำตาลซุกโคส (Sucrose), ที่ร่ายกายนำไปใช้ได้ทันทียังช่วยปรับสมดุลระบบเจริญพันธุ์ช่วยในเรื่องการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอีกด้วย

  • ดาร์กช็อกโกแลต เพราะในช็อกโกแลตทำมาจากโกโก้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนเพศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • เนื้อปลา เพราะในเนื้อปลามีโอเมก้า 3 (Omega 3) มีส่วนช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้น ปลาที่มีสารอาหารสูงได้แก่ ปลาแซลม่อน ปลาซาร์ดีน ปลาซาบะ เป็นต้น

2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น Weight training การยกน้ำหนัก เพราะเป็นการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเป็นประเภทที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้และยังส่งผลให้การทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย อย่างไรก็ตามควรออกกำลังกายหลายๆรูปแบบ เช่น วิ่งจ๊อกกิ่ง (Jogging), คาร์ดิโอ (Cardio) เพื่อช่วยให้เกิดความสมดุลของฮอร์โมน และไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไปเพราะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะถูกดึงไปซ่อมแซมร่างกายและพลังงานจะไม่เพียงพอต่อการสร้างกล้ามเนื้อกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

3. เสริมด้วยวิตามิน เพราะวิตามินบางชนิดมีความสำคัญต่อการเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การเสริมวิตามินจึงช่วยสร้างและปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายได้ เช่น

  • ซิงค์ (Zinc) เป็นตัวช่วยในเรื่องของเมตาบอลิซึมของเซลล์ รวมถึงช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

  • แมกนีเซียม (Magnesium) ประกอบไปด้วยเอมไซม์หลายชนิดที่มีส่วนช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และเสริมสมรรถภาพทางเพศ อีกทั้งยังสามารถช่วยเรื่องการผ่อนคลาย การนอนหลับ ลดความเครียดได้ดีอีกด้วย

  • วิตามินดี (Vitamin D) มีความสำคัญต่อการทำงานของฮอร์โมนหลายชนิดรวมไปถึงฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หากมีภาวะขาดวิตามินดีส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง และหากได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้

  • วิตามินอี (Vitamin E) นอกจากจะเด่นในเรื่องการต้านอนุมูลอิสระแล้ว ยังสามรถช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน เพิ่มปริมาณอสุจิ และเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้อย่างดีอีกด้วย


เทสโทสเตอโรน ฮอร์โมยเพศชาย

หากเสริมด้วยสารอาหารและวิตามินแต่ยังไม่ได้ผล ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายเพื่อให้แพทย์ช่วยตรวจระดับฮอร์โมน วิเคราะห์ผล และแนะนำวิธีที่จะช่วยปรับสมดุลให้กับฮอร์โมนได้อย่างถูกต้อง เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะเริ่มผลิตฮอร์โมนได้น้อยลงจนอาจก่อให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมน และมีผลเสียตามมาอีกมากมาย ดังนั้นการตรวจเช็กระดับฮอร์โมนเพื่อรักษาสมดุลจึงสำคัญ ขอแนะนำแพคเกจ Family Planning Check up ที่จะตรวจหาสาเหตุต่างๆที่เกิดจากฮอร์โมนลดลงหรือไม่สมดุล ครอบคลุมถึง 19 รายการ



bottom of page