สำหรับคนเป็นภาวะซึมเศร้านอกจากจะบำบัดผู้ป่วยทางด้านจิตใจและปัญหาทางอารมณ์แล้ว การเสริมวิตามินก็สำคัญเพราะคนที่เป็นโรคซึมเศร้า กว่า 70% มักพบว่าร่างกายขาดวิตามินดี (Vitamin D) วันนี้เราจะมาบอกถึงประโยชน์ของวิตามินดี (Vitamin D) ที่เป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับคนเป็นโรคซึมเศร้า
วิตามินดี (Vitamin D) มีประโยชน์มากกว่าเรื่องกระดูกและฟัน
วิตามินดีมีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของแร่ธาตุ (Minerals), แคลเซียม (Calcium) และฟอสเฟต (Phosphate) ซึ่งมีผลต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง นอกจากนี้ หลายท่านยังไม่ทราบว่า วิตามินดีนั้น ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งซึ่ง
ช่วยควบคุมความดันโลหิต
ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
ช่วยคลายความเครียด ลดภาวะซึมเศร้า
มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกันป้องกันเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกาย
เมื่อร่างกายขาดวิตามินดี (Vitamin D)
สำหรับคนที่แสดงอาการของภาวะซึมเศร้าแบบให้เห็นเด่นชัด มักจะมีระดับวิตามินดีที่ต่ำมากกว่าปกติ หากมีความรุนแรงอาการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อวิตามินดีมีระดับต่ำลงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะซึมเศร้า โดยการผ่านกลไกของ Vitamin D receptor (VDR) โดยในร่างกายของมนุษย์จะพบ Vitamin D receptor (VDR) มากในสมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมไร้ท่อที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาท (Neuroendocrine System) ซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยการตรวจระดับวิตามินดี จากเลือด (Blood test)
พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ขาดวิตามินดี (Vitamin D)
ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ และไม่ต่อเนื่อง หากต้องการรับวิตามินดีจากธรรมชาติควรออกมาเดินหรือวิ่งรับแดดในช่วงเช้าเวลา 06:00-09:00 น. ช่วงเย็น 16:00-18:00 น. อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผิวหนังของคุณเรียนรู้ที่จะรับแสงแดด มาเปลี่ยนเป็นวิตามินดีตามธรรมชาติในร่างกาย การรับวิตามินดีระยะเวลาสั้นๆเพียงไม่กี่วัน ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินดีได้
ควันและฝุ่นละออง ซึ่งเป็นมลพิษทางอาการ เป็นเสมือนตัวขัดขวางไม่ให้ผิวหนังได้รับแสงแดดโดยตรง จึงทำให้กระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายลดลง หากมองรวมกับวิถีชีวิตที่ปัจจุบัน คนใช้ครีมกันแดด และทำงานในอาคารในห้องแอร์ ยิ่งทำให้โอกาสที่ผิวหนังได้สัมผัสแสงแดดยิ่งลดลง
การดูดซึมวิตามินดีผ่านทางเดินอาหารบกพร่อง จากโรคที่ส่งผลให้การดูดซึมวิตามินดีลดลง เช่น โรคของซีลิแอ็ก (Celiac disease) ซึ่งเป็นโรคที่ภูมิคุ้มกันของตนเองจะไปทำลายผนังลำไส้ส่งผลให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและวิตามินได้ นอกจากนี้ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กก็มีส่วนทำให้การดูดซึมวิตามินดีลดลงได้
ผู้สูงอายุ เนื่องจากพออายุมากขึ้นร่างกายจะเสื่อมลงตามธรรมชาติ “ในวัยสูงอายุ การสร้างวิตามินดีเองลดลง จึงควรได้รับวิตามินดีทดแทน ทั้งจากแหล่งอาหารทั่วไป และวิตามินดีเสริม”
แหล่งรวมวิตามินดี (Vitamin D)
ภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่มักพบว่าร่างกายขาดวิตามินดี (Vitamin D) ที่ทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถตรวจระดับวิตามินดี (Vitamin D) หรือเช็กระดับวิตามินแร่ธาตุในร่างกายด้วย Oligoscan เพราะตรวจครั้งเดียวใช้เวลาไม่ถึง 3 นาที ไม่เจ็บตัว รู้ผลเร็ว มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า พร้อมตรวจหาโลหะหนัก 15 รายการ และแร่ธาตุ 21 รายการ ได้พร้อมกันทันที
Comments