top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:00 

thrive-clinic.png

Hormone ดีไม่มีแก่ เพราะฮอร์โมนสำคัญทุกช่วงวัย


ฮอร์โมนดีไม่มีแก่

ฮอร์โมนสำคัญกับทุกช่วงวัย ถ้าหากฮอร์โมนไม่สมดุล จะส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ผิวแห้งกร้าน ผิวมีริ้วรอย ประจำเดือนมาไม่ปกติ อารมณ์แปรปรวน ระดับพลังงานลดลง คุณภาพการนอนลดลง ดังนั้นคุณผู้หญิงทั้งหลายควรให้ความสำคัญกับการเสริมวิตามินหรือรักษาระดับฮอร์โมนให้สมดุลอยู่เสมอ



ฮอร์โมนดีไม่มีแก่


ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเพศหญิง คือ

  • ฮอร์โมนเอสโตเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตและรังไข่ มีหน้าที่ในการผลิตเซลล์ไข่ การตกไข่ การสร้างตกขาว การสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน และยังช่วยควบคุมการมีประจำเดือน รักษาสภาวะทางอารมณ์ เสริมสร้างกระดูก กระตุ้นคอลลาเจนในชั้นผิว

  • ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สร้างขึ้นสร้างจากต่อมหมวกไตและรังไข่ เหมือนกันกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) โดยจะมีหน้าที่ที่คล้ายกันในการควบคุมการตกไข่และมีประจำเดือน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะส่งผลในด้านสรีระมากกว่าเช่น ผิวเนียนนุ่ม, มีหน้าอก มีทรวดทรงเอวคอด และในด้านของอารมณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเรียบร้อย อ่อนหวาน อ่อนไหวง่าย ตามสไตล์ผู้หญิง

  • ฮอร์โมน FSH (Follicular stimulating hormone) ถูกสร้างมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) หรืออะดิโนไฮโปไฟซิส (Adenohypophysis) โดยทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ ส่งผลต่อการเป็นประจำเดือน และการตั้งครรภ์

  • ฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone) ถูกสร้างขึ้นที่ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มีหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกในทุกๆรอบเดือน โดยฮอร์โมน LH จะหลั่งออกมาในช่วงที่ไข่สมบูรณ์แล้ว (หลังการหลั่งของฮอร์โมน FSH) ฮอร์โมน LH จะทำให้ไข่สุกเพื่อรอการปฏิสนธิจากอสุจิ และยังมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ส่งผลให้เกิดประจำเดือนอีกด้วย

  • ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) แม้เป็นฮอร์โมนเพศชาย แต่ก็มีความจำเป็นในผู้หญิง เพราะจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อ รักษามวลกล้ามเนื้อ รักษาสมดุลของระบบเผาผลาญ ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก ลดไขมันสะสมในร่างกาย รวมไปถึงอารมณ์ทางเพศของเพศหญิง และยังช่วยเสริมระบบการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด ระบบประสาท สมองและความจำ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคเบาหวาน มะเร็งเต้านม และช่วยเรื่องการนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้หญิงจะถูกผลิตจากรังไข่ ต่อมหมวกไต เซลล์ไขมัน และเซลล์ผิวหนัง

  • ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin : PRL) จะผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า เป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรตีนมีโครงสร้างคล้ายกับโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ประกอบด้วย อะมิโนแอซิด (Amino Acid) เมื่อตั้งครรภ์ระดับโปรแลคตินจะเพิ่มสูงขึ้นเพื่อการสร้างและผลิตน้ำนม และช่วยควบคุมวงจรการตกไข่ของผู้หญิงอีกด้วย

  • ฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) เป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เพราะเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์ของรก มีหน้าที่ช่วยให้ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกได้ดีขึ้น โดยระดับของฮอร์โมน hCG จะเริ่มพบหลังจากผ่านการปฏิสนธิได้ประมาณ 11 วัน และจะเริ่มสูงขึ้นในช่วง 1-3 เดือนแรก โดยฮอร์โมน hCG จะเกิดขึ้นได้เฉพาะตอนที่ผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์เท่านั่น

ฮอร์โมนไม่สมดุลส่งผลเสียอย่างไร


ฮอร์โมนมีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย เมื่ออายุเริ่มเข้า 35 ปี ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ที่เห็นเด่นชัดสุดก็คือผิวพรรณ จะเริ่มรู้สึกผิวแห้งกร้าน ผิวหยาบ มีริ้วรอยบนใบหน้า ริ้วรอยตาข้อพับ เส้นคอ ข้อมือ ผิวไม่ชุ่มชื่น และจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ ระบบเผาผลาญทำงานได้น้องลงอีกด้วย




3 ฮอร์โมนที่สำคัญในแต่ละช่วงวัย หากบกพร่องไปอาจเกิดปัญหา


  1. วัยทำงาน อายุ 23 - 45 : ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEAs) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมาผลิตฮอร์โมนสำคัญๆ เช่น ฮอร์โมนเพศ อย่าง เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะค่อยๆลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น วัยนี้เป็นวัยที่ควรจะมีความคล่องตัวสูง แต่หากใครมีปัญหาตื่นยากในตอนเช้า ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น สายๆ ก็เริ่มง่วง สมองไม่แล่น ต้องมีน้ำหวาน ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มคาเฟอีนมาเป็นตัวกระตุ้น จึงจะรู้สึกว่าอยู่ได้ แต่พอตกกลางคืนกลับตาสว่าง หลับยาก จนสามารถอยู่ถึงเช้าได้แบบสบายๆ หากใครมีอาการแบบนี้ อาจเป็นเพราะมีภาวะต่อมหมวกไตล้า หรือ Adrenal Fatigue ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการวัดระดับฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEAs) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดในร่างกาย การตรวจจะช่วยชี้วัดความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อการรักษาให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี และเพิ่มความสดใสในระหว่างวัน

  2. วัยกลางคน อายุ 35 - 50 : ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid) คือต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณส่วนกลางลำคอ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ใช้ในการเผาผลาญสร้างพลังงานเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อต่อมไทรอยด์มีการทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนออกมาใจนำนวนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็จะเกิดผลกระทบต่อร่างกาย และทำให้ระบบเผาผลาญผิดปกติ ไทรอยด์ต่ำแฝง มีแนวโน้มที่จะเกิดกับวัยกลางคนมากกว่าวัยอื่นๆ สาเหตุหลักมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอและความเครียด จนอาจกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายที่ต้องการลดน้ำหนัก แม้ว่าจะรับประทานอาหารน้อยลง ออกกำลังกายก็แล้ว แต่น้ำหนักก็ยังไม่ยอมลงเสียที บางครั้งเป็นคนเฉื่อยชา คิดช้า หัวตื้อ สมองไม่ปลอดโปร่ง อาการเหล่านี้ก็อาจเป็นเพราะมีภาวะไทรอยด์ต่ำแฝง หากมีอาการตามข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจการเผาผลาญของร่างกาย ว่าเป็นภาวะไทรอยด์ต่ำแฝงหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

  3. วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน อายุ 40 - 60 : ฮอร์โมนเพศ (Testosterone และ Estrogen) เมื่อพูดถึงวัยทอง แน่นอนว่าจะต้องนึกถึงฮอร์โมนเพศ ซึ่งฮอร์โมนเพศหญิง หรือ Estrogen จะช่วยการทำงานของกระดูกและหัวใจ ส่วนฮอร์โมนเพศชาย หรือ Testosterone นอกจากเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือด ความสมดุลของอารมณ์ การนอนหลับ แต่อาการเริ่มแรกที่สังเกตได้ถึงความเปลี่ยนไปของวัยทอง คือ อารมณ์แปรปรวน และ หงุดหงิดง่าย

  • ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) สำหรับวัยทองในเพศชาย เราจะพบว่าอะไรที่เคยตัดสินใจเฉียบขาด กลายเป็นลังเล รู้สึกห่อเหี่ยว ในด้านร่างกายก็จะอ้วน ลงพุงง่าย แต่หากฮอร์โมนลดลงก่อนวัยอันควร จะส่งผลกับกล้ามเนื้อ มวลกระดูก มีความเสี่ยงที่กล้ามเนื้อจะลีบเล็กลง กระดูกบางง่าย มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยเพศ และการมีเพศสัมพันธ์

  • วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน ในผู้ชาย: ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียง เลือกรับประทานอาหารกลุ่มที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย เช่น Zinc หรือแร่สังกะสี เช่น หอยนางรม

  • ฮอร์โมนเพศหญิง ( Estrogen) สำหรับคุณผู้หญิง อาจมีอาการร้อนวูบวาบจากภาวะหมดประจำเดือน เหงื่อออกทั้งที่อากาศไม่ร้อน มีอาการหนาวๆ ร้อนๆ รวมถึงมีความเสี่ยงที่กระดูกจะบางมากขึ้น เพราะมวลกระดูกลดลง กล้ามเนื้อไม่ค่อยแข็งแรง

  • วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมน ในผู้หญิง: กินอาหารที่มีเอสโจรเจนสูง เช่น น้ำมะพร้าว นมถั่วเหลือง


ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท



หากผู้ที่มีอายุมาก ควรเข้ารับการตรวจฮอร์โมนเป็นประจำทุกปี ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ให้ฮอร์โมนต่างๆในร่างกายสมดุล และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก่อนที่ร่างกายจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็วและจิตใจจะห่อเหี่ยวจนไร้ความสุข






Comments


bottom of page