top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

Office syndrome โรคที่ไม่ได้เกิดแค่ในออฟฟิศ



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...





แก้อาการปวดหลัง ก่อนเป็นออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง




Office syndrome อาการปวดเมื่อยจากพฤติกรรมการทำงานที่ผู้คนเริ่มเป็นกันมากที่สุดในปัจจุบัน และ Office syndrome ยังไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับผู้ที่นั่งทำงานในออฟฟิศเพียงเท่านั้นแต่ยังปวดเรื้อรังต่อเนื่องอีกหลายพฤติกรรมที่คุณก็อาจเป็นอยู่





ไธรฟ์ ชวนเรียนรู้วิธีรับมือกับภาวะ Office syndrome โรคฮอตฮิตที่คุณก็อาจเป็นอยู่กันค่ะ






5 Checklist!

อาการเสี่ยง Office syndrome


  1. นั่งทำงาน หรือยืนทำงานทุกวัน ไม่ค่อยได้ขยับตัว

  2. มือชา

  3. ปวดหลัง ปวดเอว คอ บ่า ไหล่ บ่อยๆ

  4. นิ้วล็อคจากกการจับเมาส์ หรือกดโทรศัพท์นานๆ

  5. ปวดข้อมือ


 



ชวนรู้จักออฟฟิศซินโดรม


ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ อาการที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมนานๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง จนเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดชา อักเสบ ส่งผลให้คุณรู้สึกปวดเมื่อยตามบริเณ คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือข้อมือ

อาการปวดกล้ามเนื้อชนิดนี้มักถูกพบในผู้ที่มีพฤติกรรมการนั่งทำงานนานๆ หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เป็นประจำทุกวัน ซึ่งมักเกิดในผู้ที่ทำงานออฟฟิศเป็นประจำ จึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อ ออฟฟิศซินโดรมนั่นเองค่ะ





อาการ Office syndrome ปวดหลังแค่ไหนถึงเรียก Office syndrome?


  • ปวดกล้ามเนื้อเป็นเฉพาะจุด เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก

  • มีอาการปวดแบบกว้างๆ บอกไม่ถูกว่าปวดตรงส่วนไหน

  • มีอาการปวดล้า สามารถปวดน้อยจนถึงปวดรุนแรงทรมานได้

  • หากเป็นหนักเรื้อรังจะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย

  • อาจมีอาการเหน็บชา รู้สึกซ่าๆ ร่วมด้วย




สาเหตุใดที่ทำให้เกิดอาการ Office syndrome


  • การนั่งทำงานหลังค่อมหน้ายื่น ระดับโต๊ะและเก้าอี้ ไม่เหมาะสมกับการนั่งนานๆ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน

  • นั่งทำงาน หรือยืนทำงานในลักษณะเดิมๆ ทั้งวัน ทุกวัน จนรู้สึกปวดในระหว่างทำงานร่วมด้วย เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานขาย พนักงานขับรถ

  • ก้มหน้าใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน จนเกิดอาการตึง ปวด

  • ใช้แรงงานเป็นประจำ หรือนักกีฬา อาจทำให้เกิดการกระชากกล้ามเนื้อเร็วเกินไป การออกแรงที่มาก หรือต้องแบกของที่มีน้ำหนักมาก ส่งผลให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ

  • มีความเครียดสูง หรือเครียดสะสม




ออกแรงมากไป หรือไม่ออกแรงเลย ก็เสี่ยงเป็น Office syndromeได้




ออกกำลังกายหนักมากไป เสี่ยงกล้ามเนื้ออักเสบ
สาเหตุ อาการของออฟฟิศซินโดรม



แก้อาการ Office syndrome ทำอย่างไร

  • แบ่งช่วงเวลาให้มีการขยับตัว ไม่อยู่ในท่าเดิมนานๆ

  • ปรับโต๊ะทำงานให้จอคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ เก้าอี้ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

  • ยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อทุกส่วนได้ใช้งาน

  • ลดความเสี่ยงที่ต้องใช้ร่างกายหนัก ควรหาอุปกรณ์หรือคนนช่วยเพื่อไม่รับน้ำหนักมากเกินไป

  • หลีกเลี่ยงการก้มเงย หรือเอี้ยวบิดตัวที่มากเกินไป

  • พักผ่อนให้เพียงพอ และสร้าง work life balance

  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง ไม่อุดอู้



ปรับท่านั่ง ท่ายืน แก้ออฟฟิศซินโดรม
ปรับท่านั่ง ท่ายืน แก้ออฟฟิศซินโดรม

ท่านั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
ท่านั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง เลี่ยงออฟฟิศซินโดรม



ท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง เลี่ยงออฟฟิศซิโดรม
ท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง เลี่ยงออฟฟิศซิโดรม



ท่ายกของที่ถูกต้อง เลี่ยงหลังอักเสบ
ท่ายกของที่ถูกต้อง เลี่ยงหลังอักเสบ


หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังไม่เป็นผล อาการปวดกล้ามเนื้อไม่ดีขึ้น หรือปวดหัว นอนไม่หลับ ร่วมด้วย อาจมีภาวออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ร่างกายขาดวิตามินและสารอาหารที่จำเป็น ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แก้ไขอย่างตรงจุด ลดภาวะป่วยแทรกซ้อนที่อาจแก้ไขไม่ทัน





ฟื้นฟู Office syndrome ลดกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังด้วย PRP


เพราะอาการออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง ส่งผลถึงระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และอาจส่งผลให้ฮอร์โมนผิดปกติ เกิดภาวะความเครียดสะสมที่เป็นตัวเร่งปัญหาทางด้านสุขภาพ

ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก แนะนำแผนการรักษาจากอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธี PRP เพื่อซ่อมแซมข้อต่อ กล้ามเนื้อ อาการบาดเจ็บหรืออักเสบ เรื้อรัง ช่วยลดอาการบาดเจ็บ กระตุ้นกระบวนการสมานแผล และฟื้นตัวให้เร็วยิ่งขึ้น










bottom of page