คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ
...
สาว ๆ ต้องระวัง! ปัญหาผิวหน้ามัน รูขุมขนกว้าง ผมร่วง เป็นสิวเรื้อรังตั้งแต่เด็ก รักษาวิธีไหนก็ไม่หาย ประจำเดือนมาผิดปกติ อาจเป็นเพราะภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือที่เรียกว่า PCOS หากปล่อยไว้ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก หรือครรภ์เป็นพิษ
ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก พาหาสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาโรค PCOS ที่อาจเสี่ยงประจำเดือนไม่มา มีบุตรยาก และโรคเบาหวาน
อาการของ PCOS ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
PCOS ( Polycystic Ovary Syndrome) คือ หนึ่งในโรคฮิตของเพศหญิง มักเกิดในท่อนำไข่ทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำขึ้นมา ทำให้ผิวรังไข่เป็นตะปุ่มตะปั่ม มักเกิดขึ้นในช่วงวัยเจริญพันธุ์ เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือฮอร์โมนหลั่งไม่สมดุล จนส่งผลให้ร่างกายเกิดถุงน้ำหลายใบภายในรังไข่ โดยมีอาการหลัก 3 ข้อ ดังนี้
ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่มาติดต่อกันหลายเดือน ประจำเดือนมามากหรือน้อยผิดปกติ ไข่ไม่ตก ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด
ฮอร์โมนของเพศชายสูงผิดปกติ จึงส่งผลให้มีลักษณะภายนอกคล้ายเพศชายไปด้วย เช่น ผิวมัน รูขุมขนกว้าง เป็นสิวง่าย กระดูกใหญ่ รูปร่างบึกบึน มีกล้ามเนื้อ มีขนขึ้นเด่นชัด รอบริมฝีปาก ต้นแขน ต้นขา หน้าอกและหลัง ผมบาง และศีรษะล้าน
ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) เป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง น้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเกิดการสะสมของไขมันไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มความสี่ยงต่อโรคอ้วนโรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับ และเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์อีกด้วย
ทำอย่างไรหากมีอาการ PCOS แนะนำวิธีดูแลตนเองเบื้องต้น
ลดของหวาน น้ำตาลสูง ไม่ควรรับประทานเกิน 6 ช้อนชา จะช่วยให้ร่างกายปรับระดับอินซูลิน และลดการอักเสบภายในร่างกาย ส่งผลต่อน้ำหนัก
งดข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว พิซซ่า ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เพราะทำให้ร่างกายอักเสบ ผิวเกิดสิว ขนดก เพราะเร่งการหลั่งของฮอร์โมนเพศชายให้สูงขึ้น และยิ่งเพิ่มน้ำหนัก
ลดอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารตามสั่ง ของมัน ของทอด เพื่อลดระดับไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ในร่างกาย ที่เป็นสาเหตุของการอักเสบในร่างกายสูง และทำให้มีอนุมูลอิสระในร่างกายสูงไปด้วย
รับประทานผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วย Vitamin B6, B12, C, Fish Oil เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บร็อคโคลี มะเขือเทศ อะโวคาโด้ ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบภายในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม วันละประมาณ 30-60 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ เช่น คาร์ดิโอ เดินเร็ว จะช่วยลดไขมัน ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดระดับของฮอร์โมนเพศชายได้
พักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพราะจะช่วยควบคุมฮอร์โมนความหิว Ghrelin และฮอร์โมนความเครียด Cortisol ที่ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะเครียดและอยากน้ำตาลมากยิ่งขึ้น
ปรึกษาแพทย์ รักษาโดยวิธีการใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงให้ร่างกายสมดุล เช่น Biochemical hormone แบบครีมทา, ยาที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยให้รังไข่แข็งแรง เกิดการตกไข่ตามกลไกปกติ
Komentáře