top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ปวดแบบนี้ปกติหรือเปล่า?



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...




ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก นานเกิน 2 สัปดาห์  สัญญาณบอกโรคทางลำไส้


ปวดท้องบ่อย 3 วันดี 4 วันหาย แถมมาคราบทุกอาการทั้ง ท้องอืด ท้องผูก ทรมานร่างกายสุด ๆ มาหาสาเหตุไปพร้อมกัน ปวดท้องแบบนี้เกิดจากอะไร ยังปกติอยู่หรือเปล่า? ไธรฟ์ เวลเนส คลินิก ชวนหาคำตอบปัญหาลำไส้เสียสมดุล



ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก เกิดจากอะไร


  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง กากใยน้อย จำพวก แกงกะทิ ของผัด ของทอด ผักดิบ ทำให้กระเพาะบีบตัวช้า ใช้เวลานานในการย่อยอาหาร ส่งผลให้เกิดลม หรือแก๊สในกระเพาะอาหาร

  • พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น การทานอาหารรีบร้อน เคี้ยวไม่ละเอียด หรือทานครั้งละมากๆ หลังทานอาหารแล้วนั่งเฉยๆ ไม่ได้เดินเพื่อกระตุ้นระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงชอบรับประทานอาหารรสจัด ทำให้เกิดเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ

  • ดื่มน้ำน้อยกว่า 1.5-3 ลิตร/วัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ร่างกายต้องการน้ำอย่างเพียงพอ

  • มีพฤติกรรมไม่ค่อยขยับร่างกาย เช่น พนักงานออฟฟิศ หรือออกกำลังกายน้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารเสื่อมประสิทธิภาพ ย่อยอาหารได้ช้าลง

  • ดื่มเครื่องดื่ม ประเภท สุรา เบียร์ น้ำชา กาแฟ ส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบ

  • การติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ทำให้ขัดขวางการทำงานของลำไส้

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด ซึ่งมีผลในการกดระบบประสาท ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง หรือใช้ยาแก้ปวดข้อ ก็ส่งผลให้เยื่อบุกระเพาะอักเสบ


อาการท้องอืด จึงมักเกิดจากการรับประทานอาหาร ที่ส่งผลให้ลำไส้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ย่อยอาหารได้ไม่ดี เกิดลมหรือแก๊สในกระเพาะอาหาร จนส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อยากอาหารน้อยลงตามมาจนเป็นที่มาของอาการปวดท้องนั่นเอง



ท้องอืด ท้องผูก อันตรายหรือไม่?


อาการท้องอืด ท้องผูก ลักษณะนี้สามารถรักษาได้เบื้องต้น โดยการรับประทานยาขับลม หรือยาช่วยย่อย พร้อมปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ช้าลง และเคี้ยวอาหารอย่างละเอียด ประมาณ 50-60 ครั้ง/คำ จะช่วยเพิ่มการดูดซึมมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารรสจัด และทานอาหารอย่างพอดีคำ


แต่หากมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย ระบบขับถ่ายมีปัญหา เรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ อาจนำมาสู่โรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เพราะการทำงานของลำไส้เกิดปัญหา เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคลำไส้รั่ว โรคลำไส้อักเสบ โรคมะเร็งลำไส้



ปวดท้องตรงนี้ เป็นอะไร



ความสำคัญของลำไส้ ที่ไม่ควรปล่อยผ่าน


เมื่อมีการรับประทานอาหาร ลำไส้จะมีหน้าที่ในการลำเลียง ดูดซึมและย่อยอาหารได้เองทันที และส่งต่อไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่ต้องการพลังงานจากสารอาหารนั้น ๆ ส่วนสารอาหารที่ไม่ถูกใช้งาน จะถูกขับออกผ่านระบบขับถ่าย หรือหากสิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย ก็เปรียบได้กับเป็นตำรวจตรวจจับและขับพิษออกจากร่างกายทันทีผ่านอาการท้องเสีย



ลองจินตนาการดูว่า หากลำไส้ของคุณผิดปกติ เป็นลำไส้อักเสบ ดูดซึมอาหารหรือขับพิษออกไปไม่ได้ ร่างกายคุณจะดำเนินไปได้อย่างไร?


ลำไส้ ยังส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่ทำงานผิดปกติ โดยทั่วไปเมื่อมีสารพิษปนเปื้อนในอาหารร่างกายคนเราจะขับออกไปได้ แต่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำลำไส้จะไม่สามารถกำจัดสารพิษนี้ออกไปได้เลย และเกิดการสะสมคั่งค้างภายในลำไส้จนทำลายเนื้อเยื่อคุณแทน ซึ่งสาเหตุนี้ไม่มีวิธีป้องกันล่วงหน้าใดได้นอกจากการตรวจภูมิคุ้มกันเพื่อให้ทราบความต้านทานของภูมิคุ้มกันตนเองและดูแลรักษาลำไส้ให้ดี



อาการปวดท้อง เพราะลำไส้มีปัญหา



1. การบีบตัวหรือการเคลื่อนที่ของลำไส้ผิดปกติ

  • ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก

  • เกิดจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนในผนังลำไส้ผิดปกติ


2. ผนังลำไส้ถูกกระตุ้นผิดปกติหรือไวต่อสิ่งเร้า

  • ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้มีการเคลื่อนตัวและบีบตัวมากกว่าปกติ

  • ถูกกระตุ้นจากการรับประทานอาหาร หรือความเครียด วิตกกังวล เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์


3. การควบคุมการทำงานระหว่างประสาทรับความรู้สึก ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมองผิดปกติ

  • สารที่ควบคุมการทำงานหลายชนิดและทำหน้าที่แตกต่างกันเกิดผิดปกติ


4. การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร

  • มีการค้นพบว่าในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนมีชนิดและจุลินทรีย์ที่ต่างออกไป


5. พันธุกรรม

  • มีการค้นพบว่าหากบุคคลในครอบครัวมีอาการป่วยเป็นลำไส้แปรปรวนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า

Thrive Wellness Clinic แนะนำ สร้างสมดุลลำไส้ให้ดี ลดความเสี่ยงปัญหาทางสุขภาพเรื้อรังตั้งแต่ต้นตอ ด้วยการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ผ่านการตรวจเชิงลึก Urine Organic Profile Test










bottom of page