top of page

Thrive Wellness Clinic

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram

ชั้น2 เดอะ คริสตัล เอกมัย-รามอินทรา 
Opening Hours เวลาเปิดทำการ 10:00 -19:30 

thrive-clinic.png

สารกัดบูดในอาหารทานได้จริงเหรอ?



คลิกเลือกอ่านเนื้อหาที่สนใจ

...



รู้หรือไม่  Street Food ที่คุณชอบอาจเต็มไปด้วยสารกันบูด


สารกันบูดคืออะไร? เมื่อใส่ลงในอาหารแล้วเรารับประทานได้จริงเหรอ? ชวนรู้จักสารกันบูดในแยม น้ำอัดลม ไส้กรอก ผลไม้ดอง เบเกอรี่ ร่างกายคุณรับไหวแค่ไหน เพื่อไม่ให้อาหารเป็นพิษแทน



รู้จัก สารกันบูด คืออะไร?


สารกันบูด (Preservatives) หรือ วัตถุกันเสีย คือ สารเคมีที่ออกฤทธิ์เพื่อยับยั้ง ทำลายจุลินทรีย์ไม่ให้เกิดเชื้อรา เชื้อยีสต์ แบคทีเรีย ทำให้อาหารยังคงคุณภาพไว้ได้ทั้ง กลิ่น สี รสชาติ ยืดอายุการเก็บรักษาได้ ไม่เน่าเสีย บูด ป้องกันไขมันและน้ำมันในอาหารไม่ให้มีกลิ่นเหม็นหืน อาจใส่ลงในอาหาร พ่น ฉาบบริเวณผิว หรือภาชนะของอาหารก็ได้

แม้สารกันบูดจะมีประโยชน์ในแง่ของการบริโภค แต่เมื่อเป็นสารเคมีที่ผ่านการสังเคราะห์ ร่างกายจึงต้องรับในปริมาณจำกัดเพื่อไม่ให้เป็นพิษแกร่างกาย เพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของผนังเซลล์ เอนไซม์ หรือกลไกทางพันธุกรรมในเซลล์ ไม่ให้จุลินทรีย์เพิ่มจำนวนได้


อาหารที่มักมีสารกันบูด


สารกับบูด จะมีด้วยกัน 3 ประเภทที่นิมยมใช้ ซึ่งแต่ละชนิดก็ถูกผสมลงในอาหารที่แตกต่างกัน


1. กรดเบนโซอิก (Benzoic acid)


เป็นวัตถุกันเสียที่ได้รับความนิยมมากในอุตสาหกรรมอาหาร มีความเป็นกรดสูง สามารถต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีในสภาวะเป็นกรดที่ต่ำกว่า 4.5 ยับยั้งเชื้อรา ยีสต์ได้มากกว่าแบคทีเรีย

ไม่ควรรับประทานเกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร มีความเป็นพิษต่ำ เมื่อบริโภคไปแล้วร่างกายสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสารอื่นที่ไม่มีพิษและขับออกจากร่างกายไปได้

อาหารที่ใส่กรดเบนโซอิก เช่น เบเกอร์รี่ แยม เยลลี่ ผัก-ผลไม้ดอง น้ำอัดลม น้ำซอส เครื่องแกงสำเร็จรูป เป็นต้น


2. ซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphite and sulphur dioxide)


เป็นวัตถุกันเสียที่มีกลไกการทำลายเชื้อคล้ายกับกรดเบนโซอิก แต่มีความเป็นกรดด่างน้อยกว่า 4 ลงมา มีประสิทธิภาพสูง ยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อราได้ และยังสามารถยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารได้

อาหารที่ใส่ซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เช่น ไวน์ น้ำตาลทราย วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง อาหารแช่แข็ง เจลาติน เป็นต้น

ไม่ควรได้รับเกิน 0.7 มิลลิกรัม/วัน เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย เมื่อบริโภคแล้วร่างกายสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่หากได้รับมากเกินไปจะไปลดประสิทธิภาพไขมันและโปรตีนในร่างกาย และทำลายวิตามินบี 1, สารไธอามีน



3. ไนเตรตและไนไตรท์ (Nitrate-Nitrite)


หรือ ดินประสิว เป็นสารตรึงสี ที่ทำให้สีมีความเสถียรคงสภาพ ที่อนุญาตให้ใช้เพราะการหมักเนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋องเท่านั้น หรือเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก หมูยอ แหนม กุนเชียง เบคอน เป็นต้น

เมื่อบริโภคร่างกายสามารถขับออกได้ แต่ไม่เหมาะกับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะร่างกายไม่สามารถขับออกไปได้ อนุญาตตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข คือไม่ควรตกค้างเกิน 80 มิลลิกรัม/เนื้อ 1 กิโลกรัม


อาหารสีจัดจ้าน น่ากิน เป็นเพราะสารกันบูดตรึงสี


หากร่างกายมีสารกันบูดมากเกินไปจะเป็นอย่างไร


แม้สารกันบูดในอาหาร จะเป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้โดยผ่านการควบคุม แต่ก็อาจมีผู้ผลิตอาหารบางรายที่ผสมในปริมาณไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมกับชนิดอาหาร เมื่อเกิดการบริโภคซ้ำๆ เป็นประจำทำให้เกิดการสะสมอนุมูล ร่างกายอาจขับสารพิษเหล่านี้ออกมาไม่ทัน เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและโรคอื่นๆ โดยสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • วิงเวียนศีรษะ

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • ระคายเคืองระบบอาหาร

  • ท้องเสีย

  • อาหารเป็นพิษ

  • กลไกการดูดซึมสารอาหาร ผิดปกติ

  • ตับและไต มีปัญหา

  • อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมธฮีโมโกลบิน หรือ ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกตัวได้


ทำอย่างไร เมื่อคุณชอบทานอาหารที่มีแต่สารกันบูด


ควรหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อสารกันบูด เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ปรุงสดใหม่เสมอเพื่อลดการตกค้างของสารพิษ ตรวจดูฉลากบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียด เช่น สถานที่ผลิต วันผลิต วันหมดอายุ เครื่องหมาย อย. เป็นต้น

แม้จะลดการปริโภคอาหารที่มีสารกันบูด แต่การเลือกทานอย่างต่อเนื่องสะสมทีละเล็กทีละน้อยก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน และอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ตามมา เพราะสารพิษอาจทำลายสภาพแวดล้อมของเชื้อจุลินทรีย์ดีในลำไส้


Thrive Wellness Clinic แนะนำหากมีอาการป่วยเรื้อรัง ไม่หายไป สามารถตรวจสมดุลลำไส้และจุลินทรีย์ผ่าน Urine Organic Profile Test การตรวจเชิงลึกถึงสาเหตุของเชื้อรา เชื้อยีสต์ แบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อ ย่อยอาหารยาก ระบบเผาผลาญไม่สมบูรณ์ น้ำหนักขึ้น-ลงไม่มีสาเหตุ









bottom of page